วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning log week 8 ( Inside Class )

            Clause เป็นกลุ่มคำที่มีประธานและส่วนขยายเป็นของตัวเอง โดยส่วนใหญ่ clause จะถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของประโยค เพื่อทำให้ประโยคนั้นยาวขึ้น ตามหลักไวยากรณ์ clause สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1) Independent clause หรือ Main clause 2) Subordinate clause หรือ Dependent clause ซึ่ง Independent clause คือ clause ที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง แม้จะแยกออกมาจากประโยคแล้วก็ตาม Independent clause  ที่แยกออกมาจากประโยค เรียกว่า  simple sentence เพราะเป็นประโยคที่มีประธาน และส่วนขยายเป็นของตัวเองและมีความหมายสมบูรณ์หนึ่งความหมาย ที่สำคัญคือสามารถอยู่ได้ตามลำพังของประโยคตัวเอง โดยไม่ต้องอิงประโยคอื่นอยู่ และ simple sentence จะกลายเป็น independent clause ก็ต่อเมื่อไปรวมกับ clause อื่น เพื่อทำให้เนื้อหาของประโยคนั้นยาขึ้น ส่วน subordinate clause คือ clause ที่มีประธานและส่วนขยายที่เป็นตัวเอง แต่ไม่สามารถอยู่ได้ตามลำพัง โดยจะอาศัยอยู่กับประโยค independent clause ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ Noun clause , Adjective clause และ Adverb clause
            Noun clause คือกลุ่มคี่มีประธาน และส่วนขยายเป็นของตัวเอง และทำหน้าที่เป็นเหมือนคำนามตัวหนึ่ง อีกนัยหนึ่งคือ ประโยคที่ทำหน้าที่แทนคำนามได้เรียกว่า noun clause ซึ่งเครื่องหมายหรือคำศัพท์ที่ใช้นำหน้า noun clause ซึ่งเครื่องหมายหรือคำศัพท์ที่ใช้นำหน้า noun clause โดยปกติแล้วจะต้องมีคำศัพท์ 3 กลุ่มนำหน้าเสมอ คือ กลุ่มที่ 1 (Question words) ได้แก่ when , where , why , how , who , whom , what , which และ whose ตัวอย่างเช่น What I told them was true. (สิ่งที่ผมบอกพวกเขาเป็นความจริง) I don’t know when he will return. (ฉันไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เขาจะกลับมา) กลุ่มที่ 2 ได้แก่ whether , if ตัวอย่างเช่น  I don’t know if he will past the test. (ฉันไม่รู้ว่าเขาจะผ่านการสอบ) กลุ่มที่ 3 ได้แก่ that ตัวอย่างเช่น I hope that it was true.
              Noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย wh-guestion ถูกสร้างขึ้นมาจากประโยคคำถามที่ตอบตามข้อมูลไม่ตอบ Yes/No โดยมีหลักการใช้ ดังนี้ 1) where : ใช้กับสถานที่ เช่น Where does he come from ? I don’t know where he come from. ซึ่ง where he comes from เป็นกรรมของกริยา know 2) when : ใช้กับเวลา เช่น When does she go ? I don’t know when she goes. 3) Why : ถามหาเหตุผลที่ทำสิ่งนั้นๆ เช่น Why did you do this ? Tell me why you did this. 4) How เช่น How old is she ? I didn’t know how old she is. 5) Who : ใช้แทนคนเป็นได้ทั้งประธานและกรรมของประโยค เช่น Who is she ? No one knows who she is. She เป็นประธานไม่ใช่ who 6) Whose : ใช้นำหน้าคำนาม เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของเช่น Whose car is that ? I don’t know whose car that is. 7) Which : ใช้พูดถึงคนไหนหรือสิ่งไหนใช้เป็น subject หรือแสดงความเป็นเจ้าของก็ได้ เช่น Which would be the best route ? Which route would be best isn’t obvious.
            Noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย whether หรือ if จะเป็น noun clause ที่ถูกสร้างมาจากคำถาม Yes/No question ดังนั้นเมื่อต้องการเปลี่ยนคำถามจำพวก Yes/No question ให้เป็น Noun clause จึงจำเป็นต้องนำ whether หรือ if มาขึ้นต้นประโยค เช่น Will he pass the test ? I don’t know whether he will pass the test. I don’t know if he will pass the test. เป็นการใช้ whether หรือ if นำหน้า noun clause ที่สร้างมาจาก Yes/No question – Does she want more coffee ? I wonder whether she wants more coffee. หรือ I wonder if she want more coffee. มีหมายเหตุดังนี้ 1) ในภาษาอังกฤษ whether ให้ความรู้สึกเป็นทางการมากกว่า if 2) whether or not นำมาใช้ในประโยค noun clause ได้เช่นกัน 3) Noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย that จะใช้เมื่อ noun clause ถูกสร้างมาจาก statement  ซึ่งจริงๆ that ที่ขึ้นต้นด้วยประโยค noun clause จะไม่มีความหมายในตัวเองเพียงแต่ทำหน้าที่นำหน้า noun clause เท่านั้น ดังนั้นจึงเห็นบ่อยครั้งที่ผู้ใช้ละ that ไว้โดยเฉพาะเมื่อใช้พูด เช่น statement : She is a good teacher. Noun clause : I think that she is a good teacher. เป็น I think she is a good teacher. (ละ that)
            หน้าที่ของ Noun clause ใช้เหมือนคำนามคำหนึ่ง คือใช้เป็นประธาน กรรมหรือกรรมของคำบุพบท ดังนี้ 1) ใช้ noun clause เป็นประธานของประโยค โดยจะเป็นประธานเอกพจน์เสมอและมีโครงสร้างดังนี้ Marker + subject2 + verb 2 + verb 1 + complement ตัวอย่างเช่น Whether he will agree to this is doubtful. (เขาจะเห็นด้วยกับสิ่งนี้หรือเปล่ายังเป็นที่สงสัยอยู่) 2) ใช้ Noun clause เป็นกรรมของกริยาในประโยคโดย noun clause จะทำหน้าที่เหมือนคำนามคำหนึ่งโดยมีโครงสร้างดังนี้ subject 1 + verb 1 + Marker + subject2 + verb 2  เช่น She says that she won’t study. (หล่อนพูดว่าจะไม่เรียนแล้ว) (that she won’t study เป็นกรรมของกริยา says)
            กริยาต่อไปนี้มักจะวางอยู่ข้างหนา noun clause ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมโดยเฉพาะ that clause เช่น accept , acknowledge , admit , advise, agree , allege , announce , appear , assume , assure , ask . add , beg , command , confess , declare , demand , demonstrate , determine , discover , doubt , expect , fear , predict , feel , happen , hope , imply , inform , insist , learn , mean , observe , order , undertake , presume , pretend , promise , propose , guarantee , recognize , recommend , remark , remind , request , resolve , seem , suppose , swear , tech ,wish
            กริยาที่สามารถมี noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย wh-question จำพวก what , when , where , who , why หรือ how ตามหลังได้ด้วย ได้แก่ arrange , ask , believe , consider , decide , estimate , find , forget , hear , imagine , indicate , wonder , notice , prove , realize , reveal , say , see , show , state , suggest , tell , understand เช่น I forget who told me this. กริยาจำพวก appear , happen , occur , seem ต้องการประธานเป็น it เช่น It appears / seems that I have read the wrong book. กริยาจำพวก think , believe โดยปกติแล้วทำเป็นปฏิเสธที่ main clause ไม่ใช่ที่ noun clause เช่น I don’t think we’ve got time.  กริยาจำพวก suppose , imagine , expect สามารถทำเป็นปฏิเสธ (เติม not) ได้ทั้งประโยค main clause และ subordinate clause (noun clause) เช่น I don’t suppose you’re used to this weather.
            หน้าที่ของ noun clause ใช้เป็นกรรมของ preposition (คำบุพบท) โดย noun clause จะวางอยู่หลังคำบุพบทนั้นๆ เช่น There is no meaning in what she says. (what she says วางไว้หลัง preposition –in ดังนั้นจึงถือว่าเป็นกรรมของ -in) Prapet laughed at what I did. (what I did วางหลัง preposition –at และเป็นกรรมของ at) Pay attention to what I am going to say.  She paid no attention to what I said. (what I said เป็น noun clause เป็นกรรมของ preposition –to) He had to manage with whatever he got. (whatever he got เป็น noun clause ที่เป็นกรรมของ preposition -with)
            หน้าที่ของ noun clause  นอกจากทำหน้าที่เป็นประธาน เป็นกรรม และเป็นกรรมของคำบุพบทแล้ว ยังสามารถทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม (complement) ของประโยคและเป็น Apposition ได้อีกด้วย การใช้เป็นส่วนเติมเต็ม (complement) ของประโยคเช่น The difficultly was how Prayong was going to find us in the crowded. (how Prayong was going to find us in the crowded เป็น oun clause และเป็นส่วนเติมเต็มความหมายของกริยา was ให้สมบูรณ์ด้วย) The problem is how the refugees can be helped. (how the refugees can be helped เป็นส่วนที่ทำให้กริยา is สมบูรณ์ขึ้น)

            จากการเรียนรู้เรื่อง noun clause ในห้องเรียนและมีการศึกษาเพิ่มเติมจึงได้เข้าใจว่า noun clause ก็ทำหน้าที่เหมือนกับคำนาม เป็นทั้งประธาน กรรม หรือกรรมของคำบุพบท ซึ่งสามารถขึ้นต้นด้วย 1) Wh-question + subject + verb ซึ่ง wh-question ได้แก่ where , when , why , how , who , whose , which 2) Yes/No question + subject + verb ซึ่งจะขึ้นต้นด้วย if , whether มีความหมายว่า หรือปล่า , หรือไม่ แต่ในภาษาอังกฤษ whether ให้ความรู้สึกเป็นทางการมากกว่า if ทั้งนี้การเรียนเรื่อง noun clause จะมีประโยชน์สำหรับการแปลเป็นอย่างมาก  เพราะจะเกิดความสับสนระหว่าง if clause

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น