วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การแปลบันเทิงคดี

การศึกษาในชั้นเรียนของสัปดาห์นี้คือ การแปลบันเทิงคดี (The Translation of Literary Work) ซึ่งการแปลบันเทิงคดี หมายถึง งานเขียนทุกประเภทที่ไม่อยู่ในประเภทงานวิชาการและสารคดี บันเทิงคดีมีหลายรูปแบบ ได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น บทกวี เป็นต้น ทั้งนี้แบ่งการแปลบันเทิงคดีออกเป็นองค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดีและองค์ประกอบด้านภาษา
องค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี เป็นงานเขียนที่มีรูปแบบแตกต่างจากสารคดี ในการแปลบันเทิงคดีผู้แปลต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 2ประการ คือ องค์ประกอบด้านภาษาและองค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษา ซึ่งองค์ประกอบด้านอารมณ์และท่วงทำนองจะสะท้อนออกในองค์ประกอบของภาษา ดังนั้นองค์ประกอบด้านภาษาจึงเป็นประเด็นที่ผู้แปลจะต้องให้ความเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่งในการแปลงานบันเทิงคดี 
             ส่วนองค์ประกอบด้านภาษา เป็นงานแปลบันเทิงคดีที่สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การใช้คำสรรพนามและคำเรียกบุคคล การใช้คำที่มีความหมายแฝง และภาษาเฉพาะวรรณกรรม ภาษาที่มีความหมายแฝงคือ อ่านข้อความในต้นฉบับบอย่างน้อย 1 จบ ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาโดยรวม ในการอ่านผู้แปลไม่ควรหาคำศัพท์ใดๆ แต่อาจจะทำเครื่องหมายบางอย่างไว้ เพื่อกลับมาหาคำศัพท์เมื่ออ่านเสร็จ และภาษาเฉพาะวรรณกรรมหรือโวหารภาพพจน์ ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะที่ใช้ในบันเทิงคดี เช่นโวหารอุปมาอุปไมย โวหารอุปลักษณ์โวหารอุปมาอุปไมยทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษมักเกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบสองประเภทคือการเปรียบเทียบคำนามกับคำนาม และเปรียบเทียบคำกริยากับกริยา
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการแปลบันเทิงคดีต้องคำนึงถึงองค์ประกอบด้านภาษาจึงเป็นประเด็นที่ผู้แปลจะต้องให้ความเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่ง องค์ประกอบด้านอารมณ์และท่วงทำนองจะสะท้อนออกในองค์ประกอบของภาษา นอกจากนี้แล้วรวมไปถึงโวหารอุปมาอุปไมยซึ่งเป็นโวหารภาพพจน์ที่ปรากฏบ่อย แล้วจะทำให้เราเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น และสามารถแปลออกมาได้อย่างถูกต้อง สมบูรณ์ และมีอรรถรสยิ่งขึ้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น