วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Model 1 Relations between ideas

ประเด็นใจความสำคัญ ต้องมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับประเด็นที่เราแบ่งไว้ คือ ประเด็นที่ 1 , ประเด็นที่ 2 และประเด็นที่ 3 ทั้งสามประเด็นต้องมีความสอดคล้องกับใจความสำคัญและหัวเรื่อง และเนื้อหาในแต่ละประเด็นต้องมีความสัมพันธ์กันด้วย เพื่อให้เนื้อเรื่องสอดคล้องกันและอยู่ในบริบทเดียวกันไม่นอกขอบข่ายของหัวเรื่อง

            จากการเรียนเรื่องนี้ ทำให้ดิฉันสามารถนำไปปรับใช้กับการเขียนเรียงความได้ดี เพราะทราบหลักการเขียนที่ถูกต้อง และยังทำให้งานเขียนของดิฉันมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลักษณะของงานเขียนก็จะอยู่ในบริบทที่กำหนดไว้ในตอนแรก และสามารถแบ่งแยกเนื้อหาย่อยๆ เพื่อเพิ่มความเข้าใจในหัวเรื่องได้อีกด้วย และมีการคิดเป็นลำดับขั้นตอนมากขึ้นในระดับหนึ่ง


Text types

จากการเรียนรู้ในครั้งนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Text types ซึ่ง Text  คืองานเขียนชิ้นหนึ่งๆ  อาจะเป็นจดหมาย อีเมล์ นิยาย โคลง สูตรอาหาร การสอนทำสิ่งต่างๆ บทความในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร โฆษณา หรือการเขียนเว็บเพจก็ได้ ซึ่งจุดประสงค์ในการเขียน Texts มี 4 แบบ คือ 1. Persuative เป็นการ ชักชวน จูงใจให้เห็นด้วย เช่น โฆษณา 2. Informative บอก แจ้งเรื่องราว 3. Instructive สอน 4. Descriptive บรรยายให้เห็นภาพ
รูปแบบการเขียนมี 9 รูปแบบ คือ descriptive writing, narrative writing, recount, discussion, exposition or argument, procedure, information report, explanation และ personal response                      การเขียนประเภทบรรยาย (descriptive writing) เป็นงานเขียนที่ไม่ยากและหลายคนพบว่างานเขียนชนิดนี้ง่ายมาก โดยเฉพาะคนที่มีจินตนาการดีและสามารถถ่ายทอดออกมาในรูปของงานเขียนได้ ซึ่งอาจบรรยายลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือแม้แต่ประสบการณ์ต่างๆ ที่ผู้เขียนได้สัมผัสมา ฉะนั้น งานเขียนบรรยายที่ดีต้องทำให้ผู้อ่านสามารถเกิดจินตนาการ และวาดภาพตามคำบรรยายในขณะที่อ่านได้
Narrative writing เป็นการบอกเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนบุคคลรวมทั้งเกี่ยวกับผู้อ่านด้วยการอธิบายข้อมูล รูปแบบจะเหมือนบทสนทนากับผู้อ่านโดยเน้นไปที่ประเด็นตามความเห็นของผู้เขียน สามารถใส่บทสนทนาเพื่อใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวผู้สนทนาได้ดีขึ้น โดยหัวข้อจะเกี่ยวข้องกับเรื่องชีวิตประจำวันหรือสิ่งที่เกิดขึ้นปกติและไม่ปกติ เรื่องราวจะบอกเล่าเป็นลำดับ ว่าเรื่องเกิดขึ้นอย่างไรจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดจบเรื่อง จุดสำคัญที่แสดงถึงความสำเร็จในการเขียนประเภทนี้ต้องให้ผู้อ่านเข้าใจในเรื่องและรู้สึกอยากจินตนาการเรื่องราวต่อไป

Recount จะเขียนเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เราพบเจอหรือเกิดขึ้นกับตัวของเราเอง ซึ่งเราจะสามารถอธิบายเล่าเรื่องได้เป็นอย่างดี ส่วน discussion จะเป็นการเขียนความคิดเห็นกับ cause นั้นๆหรือเรามี solution อะไรบ้างที่จะแนะนำ ต่อมาเป็น exposition or argument ในการเขียนเรียงความโต้เถียงนี้ ต้องแสดงเหตุผลในสองด้าน เหตุผลเพื่อสนับสนุนด้านหนึ่งและอีกด้านคือด้านที่เป็นข้อโต้แย้ง โดยที่ทั้ง 2 ด้านต้องแสดงเหตุผลโต้แย้งเพื่อสนับสนุนเหตุผลในการโต้แย้ง แต่ควรมีความสมดุลในเหตุและผลที่จะนำเสนอโดยอาศัยต้องใช้ข้อมูล สถิติและข้อคิดเห็นสนับสนุนประกอบ
Procedure เป็นการเขียนที่เน้นการดำเนินงานเป็นขั้นตอนหรือสร้างขั้นตอน เช่น  How to make salad. ควรใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย อาจจะนำคำศัพท์เทคนิคมาใช้ มีการใช้คำเชื่อมในแต่ละขั้นตอน โดยใช้ before, first, next, as soon as, now and after. ต่อมาเป็นการเขียนที่เรามักใช้กันบ่อยคือ information report คือการเขียนเพื่อรายงานข้อมูล จะต้องมีความละเอียดและเป็นความจริง สำหรับรูปแบบในการเขียนจะต้องเป็นทางการ ทั้งในภาษาและเนื้อหา อาจจะมีตารางและรูปภาพใช้ในการอธิบายข้อมูลนั้นๆ ในส่วนของการสรุปจะต้องสรุปเน้นเนื้อหาที่สำคัญๆ
Explanation เป็นการเขียนเชิงอธิบาย เช่น การอธิบายตาราง การอธิบายกราฟ ในการเขียนจะต้องเขียนให้ชัดเจนเข้าใจง่ายมีการเชื่อมประโยค เชื่อมคำ มีเหตุมีผลและมีการเปรียบเทียบ ต่อมาเป็นดารเขียนแบบ personal response ซึ่งเป็นการเขียนบรรยายบุคคล แสดงถึงความประทับใจว่าเราประทับใจอะไรในตัวเขา หรือ ไม่เพียงแต่บรรยายได้แค่ตัวบุคคลเท่านั้น ยังเป็นการบรรยายเกี่ยวกับสถานที่ งาน หนังในโรงภาพยนตร์ว่าเราประทับใจส่วนไหน ซึ่งรูปแบบของการเขียนนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นทางการ
ถัดมาเป็นรูปแบบการเขียนจดหมาย มีทั้งหมด 17 ประเภท ประเภทแรกคือ the personal letter เป็นจดหมายที่บุคคลหนึ่ง เขียนถึงอีกบุคคลหนึ่งด้วยเรื่องส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย ไม่ได้ว่าด้วยเรื่องธุรกิจหรืออื่นๆ เช่น จดหมายปลอบใจ จดหมายอำลา จดหมายรัก จดหมายขอโทษ จดหมายขอบคุณ จดหมายอ้างอิง จดหมายลาออก และ จดหมายจากครูถึงผู้ปกครอง เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เรามักเคยเขียนกันเป็นประจำ จดหมายชนิดนี้มีการใช้รูปแบบของจดหมายตามจุดประสงค์
The formal letter คือจดหมายแบบเป็นทางการ ภาษาที่ใช้รวมทั้งรูปแบบจดหมายก็ต้องใช้แบบเป็นทางการ เช่น จดหมายธุรกิจ หรือจดหมายสมัครงาน ซึ่งจะต้องเป็นจดหมายที่มีเนื้อหาครบถ้วน ถูกต้องและชัดเจน จดหมายประเภทต่อมาคือ invitations เป็นจดหมายเชิญ ซึ่งจากการที่ดิฉันได้ศึกษาเพิ่มเติมนั้น invitations มีสองประเภทคือ formal invitation และ informal invitation ซึ่ง formal invitation หมายถึงการเชิญที่เป็นไปตามระเบียบเป็นทางการโดยส่วนใหญ่เป็นการเชิญในงานพิธีใหญ่ ส่วน informal invitation นั้นหมายถึงเป็นจดหมายเชิญที่ไม่เป็นทางการ
Diary extract เป็นการเขียนถึงประสบการณ์ของตัวเองว่าเราทำอะไร อย่างไร เราประทับใจอะไร เราอยากเก็บบางเหตุการณ์ที่เราชอบ มีการเขียนวัน วันที่ เวลา กำกับ เป็นย่อหน้าสั้นๆ อารมณ์ที่ใช้เขียน เขียนเป็นตามธรรมชาติแล้วแต่อารมณ์ที่อยากเขียน ในการเขียนเรื่องราวนั้นจะพูดถึงความคิดเห็นอารมณ์ของตนเอง ต่อมาเป็น Feature article เป็นบทความที่เขียนแบบสารคดีมีการวิเคราะห์วิจารณ์ควบคู่กันไป ทำให้มีสาระมากกว่าความบันเทิง
pamphlet หรือแผ่นพับที่เรารู้จักกันทั่วไป ส่วนใหญ่แล้วเนื้อหาของแผ่นพับจะเป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง วัตถุ สิ่งของ บริการสถานที่ซึ่งประกอบอยู่  จุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ โดยตรงซึ่งไม่ได้ประกอบกับเรื่องใดทั้งสิ้นข้างต้น อาจจะเป็นเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจหรือเรื่องที่อยู่ในกระแส  ต่อมาคือ Advertising เป็นการเขียนโฆษณาเพื่อการโปรโมทผลิตภัณฑ์ ซึ่งการเขียนจะต้องใช้เทคนิคที่ทำให้ผู้อ่านเชื่อถือ และต้องเป็นโฆษณาที่น่าสนใจ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความจริง มีความคิดเห็น และใช้ภาษาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

จากการเรียนเรื่องประเภทของงานเขียน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนเชิงบรรยาย การเล่าเรื่อง การเขียนโฆษณา การเขียนจดหมาย ทำให้ดิฉันทราบวิธีการเขียนที่ถูกต้อง และจุดประสงค์ของการเขียนแต่ละประเภท และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพราะในทุกๆวัน เราก็คลุกคลีอยู่กับการเขียนอยู่แล้ว ฉะนั้นดิฉันจะนำความรู้จากการเรียนเรื่องนี้มาประยุกต์ เพื่อให้การเขียนมีความถูกต้องมากขึ้น และทำให้ดิฉันรู้จักการใช้ภาษาสำหรับการเขียนมากขึ้น ว่าเขียนอย่างไรให้เหมาะสม เขียนอย่างไรให้น่าสนใจ มีเทคนิคในการเขียนมากขึ้น

The Passive

การแปล เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญกับผู้ที่เรียนภาษา เพราะการแปลจะทำให้เราทราบความหมายของเนื้อหา หากเราเข้าใจบริบท เข้าใจโครงสร้างประโยค และยังทำให้เรามาสารถเรียนรู้วัฒนธรรมทางภาษาได้อีกด้วย แต่การที่เราจะเริ่มแปลได้นั่น เราจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านไวยากรณ์ที่ดีในระดับหนึ่ง เพราะไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษมีลักษณะที่ซับซ้อน ฉะนั้นเราต้องทำความเข้าใจกับไวยากรณ์ที่ซับซ้อนให้ก่อน เราจึงจะสามารถแปลได้อย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
ในการเรียนวิชาการแปลในครั้งนี้ อาจารย์ได้สอนในเรื่อง The Passive เพื่อปรับความรู้เกี่ยวกับไวยากรณ์ภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียน เพราะพื้นฐานทางด้านไวยากรณ์ของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ฉะนั้นทุกคนต้องทำความเข้าใจก่อน ในเรื่องของ Passive เป็นรูปแบบของประโยคที่บอกให้ทราบว่าประธานถูกกระทำอย่างไร โดยใคร โดยรูปแบบประโยคจะขึ้นต้นด้วยกรรมเป็นอันดับแรก ตามด้วยกริยาที่ถูกกระทำ และตามด้วยผู้กระทำท้ายประโยค
วิธีการแปลประโยค passive ให้เป็นภาษาไทย สำหรับโครงสร้างแบบ Passive Voice จะแปลว่า ถูกกระทำ เป็นส่วนใหญ่ แต่บางครั้งแปลว่า ได้รับการกระทำนั้น ดูจะเหมาะกว่า เช่น He was punished by his teacher a few days ago. เขาถูกลงโทษ โดยครูของเขาเมื่อ 2 - 3 วันก่อน แต่ He was loved by his friends. เขาได้รับความรักจากเพื่อน ๆ ของเขา (เราไม่พูดว่า เขาถูกรัก) Mrs. Brown was promoted . (by someone) นางบราวน์ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง (ไม่ได้ระบุว่าโดยใคร แต่น่าจะสันนิษฐานได้เองว่าจากผู้มีตำแหน่งสูงกว่าตัวบางบราวน์เอง)
โครงสร้าง passive voice จะคล้ายกับ tense ทั้ง 12 แตกต่างกันที่ passive จะคู่กับกริยาช่องที่ 3 ทุก tense ดังนี้ simple tense ในรูปแบบของ passive คือ Subject + verb to be +  past participle tense (v3)  ตัวอย่างประโยคเช่น John is helped by Mary. จอห์นได้รับความช่วยเหลือจากมารี จอห์นเป็นกรรมเนื่องจากได้รับความช่วยเหลือจากมารี ต่อมาคือ present continuous tense ในรูปแบบของ passive คือ Subject + verb to be + being + past participle tense (v3) ตัวอย่างประโยคเช่น John is being helped by Mary. ต่อมาเป็น Present Perfect tense มีโครงสร้างประโยคในรูปแบบของ passive คือ Subject + verb to have + been + past participle tense (v3) ตัวอย่างประโยคเช่น John has been helped by Mary.
จะเห็นได้ว่าโครงสร้างประโยค Present tense ในรูปแบบของ passive จะมี past participle tense (v3) และ verb to be มาเกี่ยวกันทุกกาลเวลา
            ต่อมาเป็น Past tense ในรูปแบบของ Passive จะแบ่งออกเป็น 3 กาลเวลา คือ simple past tense, past continuous tense และ past perfect tense แต่ละกาลเวลามีโครงสร้างประโยคในรูปแบบของ passive ดังนี้ สำหรับ simple past tense มีโครสร้างประโยค Subject + was/were + past participle tense (v3) ต่อมาเป็น past continuous tense  มีโครงสร้างประโยค Subject + was/were + being + past participle tense (v3) และ past perfect tense มีโครงสร้างประโยค Subject + had been + past participle tense (v3)
            ต่อมาเป็น Future tense ในรูปแบบของ Passive จะแบ่งออกเป็น 3 กาลเวลาเช่นกัน คือ simple future tense, be going to และ future perfect แต่ละกาลเวลาจะมีโครงสร้างประโยคในรูปแบบของ passive ดังนี้คือ Subject + will be + past participle tense (v3) จะเป็นโครงสร้างของ simple future
Subject + be going to + be + past participle tense (v3) และ future perfect มีโครงสร้างคือ Subject + will have been + past participle tense (v3) จะเห็นได้ว่า แต่ละกาลเวลาเมื่อมาเขียนเป็น Passive จะมี verb to be และ past participle tense (v3) มาเกี่ยวข้องทุกครั้ง
            นอกจากการเรียนเรื่อง Passive ในห้องเรียน ดิฉันยังศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง Passvie ด้วยอีกส่วนหนึ่งคือ การใช้ Modal กับ Passive ซี่งสามารถสรุปการใช้ได้ดังตาราง
Modal verbs
Verb to be
Past participle tense (v3)
may,might
can, could
must, haveto
ought to, used to

                  + be +

Past Participle
V3
            จากการเรียนเรื่อง Passive ทำให้ดิฉันได้ฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับ Tense เพื่อนำมาปรับใช้กับการเรียนวิชาการแปล เพราะโครงสร้างไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษมีลักษณะที่ซับซ้อน ฉะนั้นการที่เราศึกษาและได้ทำความเข้าใจกับโครงสร้างไวยากรณ์ จะทำให้เราเข้าใจความหมาย และการสื่อความหมายของภาษาเป้าหมายได้ดี นอกจากนี้ยังทำให้ดิฉันเกิดแรงบันดาลใจในการฝึกทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับ Passive มากขึ้น และดิฉันหวังว่าดิฉันจะมีพัฒนาการทางด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่มากขึ้น



โครงสร้างพื้นฐานของประโยค


การแปลประโยคในภาอังกฤษไม่ว่าจะยาวหรือสั้น สามารถกระจายออกเป็นรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานได้ทั้งนั้น และในการแปลประโยคที่ซับซ้อน หรือที่เรียกว่าโครงสร้างลึกนั้นถ้าจะแยกข้อความออกเป็นหน่วยประโยคที่สั้นหรือเล็กที่สุดตามลักษณะของประโยคโครงสร้างพื้นฐานแต่ละแบบแล้ว จะช่วยให้เราวิเคราะห์ประโยคได้ดีขึ้นอีกด้วย ซึ่งฮอร์นบีและคณะได้แยกประโยคโครงสร้างพื้นฐานไว้  25 แบบ
ฮอร์นบีและคณะได้แยกประโยคพื้นฐานไว้ใน  The Advanced Learner’s Dictionary of Current English ไว้25 แบบ  โดยถือตามหน้าที่และความนิยมในการใช้คำกริยาเป็นหลัก เรียกว่า แบบของคำกริยา (verb pattern) จะสังเกตเห็นว่าในการเขียนโครงสร้างแต่ละประโยคนั้น จะประกอบด้วยประธาน ตามด้วยกริยา และในส่วนเติมเต็มในแต่ละแบบนั้นจะแตกต่างกันออกไป
การแปลภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง ถ้าผู้แปลมีความสามารถ มีความรู้ความเข้าใจที่ดีพอทั้งสองภาษา การตีความหรือวิเคราะห์ความหมายของประโยคจะทำได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่คิดในใจ แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่ค่อยชำนาญ  การแยกประโยคที่ซับซ้อนเป็นประโยคพื้นฐานจะเป็นประโยชน์ได้ดีมาก  เพราะว่าสามารถช่วยให้เรามีความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องเละงานแปลออกมาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ดังนั้นการแปลประโยคในภาอังกฤษไม่ว่าจะยาวหรือสั้น สามารถกระจายออกเป็นรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานได้ทั้งนั้น รวมไปถึงประโยคที่มีความซับซ้อนอีกด้วย การที่เราจะแปลภาษาออกมาสละสลวยเราต้องศึกษากระบวนการแปลแลเทคนิคต่างๆที่ใช้ในการแปลและโครงสร้างพื้นฐานของประโยค ถ้าเราจำได้แม่นยำเราก็สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกสบาย เพราะว่างานเปลเป็นงานที่ละเอียดอ่อน รู้คำศัพท์อย่างเดียวไม่สามารถแปลได้ เพราะฉะนั้นการแยกประโยคจะช่วยให้งานแปลของเรามามาสมบูรณ์แบบที่สุด



การแปลบันเทิงคดี

การศึกษาในชั้นเรียนของสัปดาห์นี้คือ การแปลบันเทิงคดี (The Translation of Literary Work) ซึ่งการแปลบันเทิงคดี หมายถึง งานเขียนทุกประเภทที่ไม่อยู่ในประเภทงานวิชาการและสารคดี บันเทิงคดีมีหลายรูปแบบ ได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น บทกวี เป็นต้น ทั้งนี้แบ่งการแปลบันเทิงคดีออกเป็นองค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดีและองค์ประกอบด้านภาษา
องค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี เป็นงานเขียนที่มีรูปแบบแตกต่างจากสารคดี ในการแปลบันเทิงคดีผู้แปลต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ 2ประการ คือ องค์ประกอบด้านภาษาและองค์ประกอบที่ไม่ใช่ภาษา ซึ่งองค์ประกอบด้านอารมณ์และท่วงทำนองจะสะท้อนออกในองค์ประกอบของภาษา ดังนั้นองค์ประกอบด้านภาษาจึงเป็นประเด็นที่ผู้แปลจะต้องให้ความเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่งในการแปลงานบันเทิงคดี 
             ส่วนองค์ประกอบด้านภาษา เป็นงานแปลบันเทิงคดีที่สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การใช้คำสรรพนามและคำเรียกบุคคล การใช้คำที่มีความหมายแฝง และภาษาเฉพาะวรรณกรรม ภาษาที่มีความหมายแฝงคือ อ่านข้อความในต้นฉบับบอย่างน้อย 1 จบ ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาโดยรวม ในการอ่านผู้แปลไม่ควรหาคำศัพท์ใดๆ แต่อาจจะทำเครื่องหมายบางอย่างไว้ เพื่อกลับมาหาคำศัพท์เมื่ออ่านเสร็จ และภาษาเฉพาะวรรณกรรมหรือโวหารภาพพจน์ ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะที่ใช้ในบันเทิงคดี เช่นโวหารอุปมาอุปไมย โวหารอุปลักษณ์โวหารอุปมาอุปไมยทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษมักเกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบสองประเภทคือการเปรียบเทียบคำนามกับคำนาม และเปรียบเทียบคำกริยากับกริยา
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการแปลบันเทิงคดีต้องคำนึงถึงองค์ประกอบด้านภาษาจึงเป็นประเด็นที่ผู้แปลจะต้องให้ความเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่ง องค์ประกอบด้านอารมณ์และท่วงทำนองจะสะท้อนออกในองค์ประกอบของภาษา นอกจากนี้แล้วรวมไปถึงโวหารอุปมาอุปไมยซึ่งเป็นโวหารภาพพจน์ที่ปรากฏบ่อย แล้วจะทำให้เราเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น และสามารถแปลออกมาได้อย่างถูกต้อง สมบูรณ์ และมีอรรถรสยิ่งขึ้น





การถ่ายถอดตัวอักษร

จากการเรียนรู้ครั้งนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการถ่ายทอดตัวอักษร (transliteration)ในภาษาไทยนั้นไม่ได้ใช้อักษรโรมันในการติดต่อสื่อสาร เพื่อให้คนไทยได้สื่อสารกับคนต่างชาติได้นั้นจำเป็นต้องเรียนรู้ทางการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน ส่วนมากจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ ชื่อศิลปกรรม ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อเทคโนโลยี เป็นต้น ฉะนั้นการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสื่อสารของสังคมในปัจจุบัน
ในการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน โดยการถอดอักษรตามวิธีเขียน (Transliteration) ซึงการถ่ายถอดเช่นนี้เป็นการถอดอักษรตามวิธีเขียนผู้ที่ถอดจะต้องถอดตามตัวอักษรทุกตัวที่มีอยู่ในคำหรือประโยคนั้น บางครั้งเราสามารถสะกดคำและสามารถถอดอักษรกลับไปยังคำเดิมได้ แต่ในการอ่านออกเสียงนั้นจะยากและบางคำที่ถอดออกมามีมากเกินความจำเป็นในการออกเสียง
ซึ่งการถอดตัวอักษรนั้นก็ยอมมีหลักเกณฑ์ในการถอดคือในการถออดอักษรจะตัวสะกดการันต์และวรรณยุกต์ไม่มีการใช้ในภาษาอังกฤษจึงไม่มีความจำเป็นที่จะถอด ผู้ถอดจะใช้เสียงในการเปรียบเทียบที่ใกล้เคียงที่สุด เช่น ส ศ ษ= s (สี) , ม  = m (ม้า) และส่วนทางด้านสระ เช่น อา = a การกำเนิดอักษรเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดคำมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้และเมื่อนำคำมารวมกันก็จะเกิดเนประโยคจนสามารถสื่อการกับคนในสังคมได้
 ต่อมากล่าวถึงคำประสม หมายถึงหน่วยคำตั้งแต่ 2 หน่วยคำขึ้นไป เมื่อรวมกันแล้วเกิดความหมายใหม่หรือความหมายเพิ่มจากเดิม เช่น ลูกชิ้น ปลากัด  นอกจากนี้คำสามานยนาม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือคำนามทั่วไป กับชื่อภูมิศาสตร์ก็เป็นคำนามทั่วไปชนิดหนึ่ง แต่จะบอกลักษณะของภูมิประเทศ ธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ หนองคลอง ลำธาร หรืภูมิศาสตร์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง เช่นตึก เขื่อน นอกจากนี้รวมถึงเขตการปกครองด้วย เช่น ประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล
คำวิสามานยนาม หมายถึงคำที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสถานที่และชื่อองค์กร เป็นคำที่ใช้นำหน้านาม คำนี้จะปรากกฎอยู่หน้าคำวิสามานยนามจะทำหน้าที่บอกลักษณะสภาพของคำวิสามานยนามนั้น เช่น นาง……, เด็กชาย……,เด็กหญิง……ฯลฯการทับศัพท์ เป็นการเขียนข้อความหรือภาษาหนึ่งไปสู่ภาษาหนึ่งอย่างมีหลักการจะช่วยให้ผู้เขียนสามารถเขียนคำในภาษาต่างประเทศได้ง่ายขึ้น จะนิยมเขียนเกี่ยวกับ ชื่อบุคคล สถานที่ หรือชื่อเฉพาะที่ไม่สามารถแปลความหมายเป็นภาษาอื่นได้
 คำทับศัพท์ จะเป็นคำภาษาต่างประเทศที่ผู้เขียนมักจะเขียนด้วยตัวอักษรไทย เช่น คอมพิวเตอร์ แทน computer นอกจากนี้ยังมีการถอดตัวเลขด้วย  โดยหลักการถอดก็จะเหมือนกับการถอดอักษร มักจะเขียนอักษรโรมันตามเสียงที่เราอ่านกันในภาษาไทย เช่น ๑..๓ ห้าจุดเจ็ดจุดสี่ (nueng chut sam chut sam) เป็นต้น
ดังนั้นการถ่ายทอดตัวอักษร (transliteration) ไม่ว่าจะเป็นการตัวอักษรชนิดใดก็ต้องอาศัยหลักการเทียบเสียงซึ่งเสียงจะต้องออกเสียงคล้ายกันและต้องคงรูปแบบความหมายของต้นฉบับเดิมไว้ โดยใช้ตารางเปรียบเทียบเสียงโรมันฉะนั้นการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสื่อสารของสังคมในปัจจุบัน



ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ

ในการศึกษาหาความรู้ในชั้นเรียนครั้งนี้ ดิฉันได้ศึกษาเนื้อหาที่ได้อ้างอิงโดยอาจารย์สิทธา พินิจภูวดล เนื้อหาดังกล่าวซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการนำไปสู่งานแปลที่ดี ซึ่งการเขียนบทแปลที่ดีต้องเขียนด้วย ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงภาษาเขียน ภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทย ทั้งนี้เพื่อให้คนไทย ผู้อ่านหรือผู้ใช้งานสามารถทำความเข้าใจได้ทันที ไม่เกิดอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปล หรือการรับสารมาอย่างผิดๆ พลิกแพลงไปจากความหมายเดิมของต้นฉบับ ฉะนั้นผู้แปลจึงควรคำนึงถึงองค์ประกอบในการเขียนบทแปลด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร
องค์ประกอบแรกคือคำและความหมาย จะสังเกตได้ว่าคำบางคำมีความหมายแตกต่างกันหลายอย่างมีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝง หรือความหมายเชิงเปรียบเทียบ อาทิเช่น คำว่าแสบ ในความหมายตรงจะสื่อว่าอาการเจ็บบาดแผลที่ถูกน้ำเกลือราด แต่ในทางกลับกันในความหมายแฝงได้ให้ความหมายของคำว่าตัวแสบว่าผู้ที่นำความยุ่งยาก ทุกข์ร้อนมาสู่ผู้อื่น สำหรับคำบางคำมีความหมายต่างกันไปตามยุคสมัย เช่น ในสมัยก่อนๆมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่ในปัจจุบันแตกต่างไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง บางครั้งก็อาจจะตรงข้ามกัน แต่ในบางครั้งอาจจะมีความหมายไปในทางที่ดี บางครั้งอาจมีความหมายไปในทางที่เลวลง เช่นคำว่าไพร่ เดิมหมายถึงชาวเมือง พลเมืองสามัญ ปัจจุบันหมายถึงคนขาดมารยาทไม่สุภาพ และในการพูดหรือการเขียนที่ต้องการแสดงอารมณ์ อาจจะนำคำที่มีความหมายไม่ดีมาใช้ให้เกิดความหมายที่ดีขึ้น
องค์ประกอบที่สอง การสร้างคำกริยาเป็นการเสริมท้ายคำกริยาด้วยคำกริยา ซึ่งบางคนอาจจะเห็นว่าทำให้ภาษาเกิดความยุ่งยาก อย่างไรก็ตามบางครั้งก็มีความชัดเจนขึ้น ถ้าเราเข้าใจความหมายที่แท้จริงดั้งเดิมของคำนั้น คำกริยาที่สามารถนำมาเสริมท้ายได้แก่ ขึ้น ลง ไป มา ซึ่งจะไม่มีความหมายเดิมเหลืออยู่ แต่เป็นคำบอกปริมาณและทิศทาง เช่น ทำขึ้น เป็นการบ่งบอกถึงปริมาณมาก ชัดเจน เช่นเดียวกับเกิดขึ้น พูดขึ้น คำว่าช้าลง บอกถึงปริมาณว่ามีเพียงเล็กน้อย โดยมีความหมายเปรียบเทียบเช่นเดียวกับแก่ลง เสื่อมลง ส่วนคำว่าจากไป สามารถบอกทิศทางว่าไกลบ่งบอกว่าห่างไกลออกไป และคำว่า กลับมา บอกทิศทางว่าใกล้ซึ่งตรงข้ามกับไป อย่างไรก็ตามเราควรระวังในการใช้คำว่าไปมา ขึ้นลง คู่กันกลับหมายถึงการทำซ้ำๆ
องค์ประกอบที่สาม การเข้าคู่คำเป็นการนำคำหลายคำมาเข้าคู่กันเพื่อให้ได้คำใหม่โดยมีความหมายใหม่หรืออาจจะมีความหมายคงเดิม แต่ส่วนใหญ่มักจะมีความหมายคงเดิม เช่นทรัพย์สิน หมายความว่าร่ำรวย เสื่อสาด คือเครื่องปูลาด และข้าวปลาอาหาร หมายความว่าอาหาร สำหรับคู่คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน ส่วนใหญ่จะได้ความหมายใหม่ เช่น ผู้ใหญ่ผู้น้อย ใหญ่ตรงข้ามกับน้อย หมายความว่า ทุกคน และความรับผิดชอบ ผิดตรงกันข้ามกับ ชอบ หมายความว่า ความรู้สึกว่าสิ่งใดควรหรือสิ่งใดไม่ควร และคู่คำที่มีความหมายต่างกัน มักจะได้คำใหม่ที่มีเค้าความหมายเดิมเหลืออยู่ เช่น ลูกเมีย หมายความว่าครอบครัว ข้าวของเครื่องใช้ หมายความว่า เครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น
และองค์ประกอบสุดท้ายคือสำนวนโวหาร ซึ่งผู้แปลจำเป็นจะต้องรู้จักสำนวนการเขียน และการใช้โวหารหลายๆแบบเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความบันเทิง สนุกสนาน มิฉะนั้นจะทำให้เข้าใจความหมายไม่ชัดเจน บางครั้งอาจเกิดความเข้าใจผิด การอ่านฝึกอ่านเยอะๆจะทำให้คุ้นเคยกับสำนวนโวหารแบบต่างๆได้มากขึ้น สำหรับสำนวนที่มีคำซ้ำในที่นี้หมายถึงคำเดียวกันซ้ำรูปกัน และคำที่มีความหมายเหมือนกันซ้ำความหมายกัน ในการใช้คำดังกล่าวก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย นั่นกล่าวคือข้อดีเพื่อให้เกิดความไพเราะไม่ฟังดูห้วน ให้เกิดความหมายอ่อนลง หรือเพื่อให้ได้คำใหม่ๆใช้ เช่นความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งเพื่อแสดงจำนวนที่มากขึ้น
สำหรับโวหารภาพพจน์ ผู้แปลจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก่อน มิฉะนั้นจะทำให้โวหารดังกล่าวเกิดความบิดเบือนไปจากเดิม ได้แก่ โวหารอุปมา(Simele) คือการสร้างภาพพจน์ด้วยการเปรียบเทียบ โดยมีจุดมุ่งหมายจะชี้แจงอธิบาย พูดพาดพิงถึงหรือเสริมให้งดงามขึ้น โดยใช้คำเชื่อม ประดุจ ราวกับ เช่นดำประดุจนิล ส่วนโวหารอุปลักษณ์(Metaphor) เป็นการเปรียบเทียบความหมายโดยนำความเหมือนหรือไม่เหมือนของสิ่งที่จะเปรียบเทียบมากล่าว โวหารเย้ยหยัน(Irony) คือการใช้คำด้วยอารมณ์ขัน เพื่อยั่วล่อ เหน็บแนมหรือชี้ให้เห็นข้อบกพร่อง โวหารขัดแย้ง (ContrastหรือAntitheses) เป็นการใช้คำที่มีความหมายตรงข้ามกันมาเรียงต่อกันโดยรักษาสมดุลไว้  เช่นการรักษาให้จำนวนคำเท่ากันทั้งสองฝ่าย
โวหารที่ใช้ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด (Metonymy) ซึ่งเป็ฯการนำคุณสมบัติเด่นๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาใช้แทนที่จะเอ่ยสิ่งนั้นมาโดยตรง เช่นปากกาคมกว่าดาบ  คือปากกาเป็นของใช้ประจำของนักเขียน แต่ดาบเป็นของใช้ประจำของนักรบ ต่อไปกล่าวถึงโวหารบุคคลาธิษฐาน(Personification) คือการนำสิ่งต่างๆที่ไม่มีชีวิตรวมทั้งความคิด การกระทำ และถ้าเราสังเกตเห็นโวหารที่เน้นให้เห็นความสำคัญ ชี้ให้เห็นความชัดเจนในการแสดงอารมณ์ที่รุนแรง จะเรียกว่า โวหารที่กล่าวเกิน(Hyperbole)
อย่างไรก็ดีในการแปลเพื่อนำไปสู่งานแปลที่ดีควรคำนึงถึงลักษณะที่ดีของสำนวนโวหาร คือการใช้ภาษาถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ไม่มีความพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงไปจากเนื้อหา การใช้คำไม่กำกวม สำนวนโวหารที่ดีจะต้องมีความชัดเจน แม่นตรง ไม่ชวนให้เข้าใจไขว้เขว และสำนวนต้องมีชีวิตชีวา คือไม่เนิบนาบ เฉื่อยชา มีความน่าสนใจ เร้าใจ ชวนให้ผู้อ่านรู้สึกกระตือรือร้น อยากอ่านต่อจนจบ รวมไปถึงความสมเหตุสมผล มีความน่าเชื่อถือ มีเหตุผลที่รอบคอบ ไม่มีความอคติ ไม่สร้างความหลงผิดให้แก่ผู้อ่าน เช่นการบรรยายความฉลาดของสัตว์ที่มีเหนือกว่ามนุษย์ และความคมคายเฉียบแหลมเป็นการใช้คำพูดที่มีความเข้มข้น หนักแน่น แฝงข้อคิดที่ฉลาดโดยการสอดแทรกถ้อยคำดีๆเพียงไม่กี่คำ
ดังนั้นในการเขียนบทแปลที่ดีต้องเขียนด้วยภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งสิ่งแรกคือการคำนึงถึงหลักเกณฑ์ต่างๆในแต่ละงานเขียน เพราะแต่ละงานแปลนั้นย่อมมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน แต่ขึ้นอยู่ว่างานดังกล่าวนั้นจะแตกต่างไปมากหรือน้อย ทั้งนี้ในการแปลที่ดีนั้นต้องเริ่มจากการฝึกฝนการแปลอยู่บ่อยๆ เพราะจะทำให้เรารู้สึกเกิดความคุ้นเคย และคุ้นชินกับคำศัพท์ และสามารถเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับบริบท รวมไปถึงการรักษาอารมณ์ของงานเขียนไม่ว่าจะเป็นงานเขียนที่สอดแทรกสำนวนโวหารในแต่ละแบบที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งสิ่งนี้จะสามารถสื่อความให้ผู้อ่านรู้สึกมีความสนใจในงานแปลนั้นๆได้เป็นอย่างดี