วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Text types

จากการเรียนรู้ในครั้งนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Text types ซึ่ง Text  คืองานเขียนชิ้นหนึ่งๆ  อาจะเป็นจดหมาย อีเมล์ นิยาย โคลง สูตรอาหาร การสอนทำสิ่งต่างๆ บทความในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร โฆษณา หรือการเขียนเว็บเพจก็ได้ ซึ่งจุดประสงค์ในการเขียน Texts มี 4 แบบ คือ 1. Persuative เป็นการ ชักชวน จูงใจให้เห็นด้วย เช่น โฆษณา 2. Informative บอก แจ้งเรื่องราว 3. Instructive สอน 4. Descriptive บรรยายให้เห็นภาพ
รูปแบบการเขียนมี 9 รูปแบบ คือ descriptive writing, narrative writing, recount, discussion, exposition or argument, procedure, information report, explanation และ personal response                      การเขียนประเภทบรรยาย (descriptive writing) เป็นงานเขียนที่ไม่ยากและหลายคนพบว่างานเขียนชนิดนี้ง่ายมาก โดยเฉพาะคนที่มีจินตนาการดีและสามารถถ่ายทอดออกมาในรูปของงานเขียนได้ ซึ่งอาจบรรยายลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือแม้แต่ประสบการณ์ต่างๆ ที่ผู้เขียนได้สัมผัสมา ฉะนั้น งานเขียนบรรยายที่ดีต้องทำให้ผู้อ่านสามารถเกิดจินตนาการ และวาดภาพตามคำบรรยายในขณะที่อ่านได้
Narrative writing เป็นการบอกเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนบุคคลรวมทั้งเกี่ยวกับผู้อ่านด้วยการอธิบายข้อมูล รูปแบบจะเหมือนบทสนทนากับผู้อ่านโดยเน้นไปที่ประเด็นตามความเห็นของผู้เขียน สามารถใส่บทสนทนาเพื่อใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวผู้สนทนาได้ดีขึ้น โดยหัวข้อจะเกี่ยวข้องกับเรื่องชีวิตประจำวันหรือสิ่งที่เกิดขึ้นปกติและไม่ปกติ เรื่องราวจะบอกเล่าเป็นลำดับ ว่าเรื่องเกิดขึ้นอย่างไรจากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดจบเรื่อง จุดสำคัญที่แสดงถึงความสำเร็จในการเขียนประเภทนี้ต้องให้ผู้อ่านเข้าใจในเรื่องและรู้สึกอยากจินตนาการเรื่องราวต่อไป

Recount จะเขียนเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เราพบเจอหรือเกิดขึ้นกับตัวของเราเอง ซึ่งเราจะสามารถอธิบายเล่าเรื่องได้เป็นอย่างดี ส่วน discussion จะเป็นการเขียนความคิดเห็นกับ cause นั้นๆหรือเรามี solution อะไรบ้างที่จะแนะนำ ต่อมาเป็น exposition or argument ในการเขียนเรียงความโต้เถียงนี้ ต้องแสดงเหตุผลในสองด้าน เหตุผลเพื่อสนับสนุนด้านหนึ่งและอีกด้านคือด้านที่เป็นข้อโต้แย้ง โดยที่ทั้ง 2 ด้านต้องแสดงเหตุผลโต้แย้งเพื่อสนับสนุนเหตุผลในการโต้แย้ง แต่ควรมีความสมดุลในเหตุและผลที่จะนำเสนอโดยอาศัยต้องใช้ข้อมูล สถิติและข้อคิดเห็นสนับสนุนประกอบ
Procedure เป็นการเขียนที่เน้นการดำเนินงานเป็นขั้นตอนหรือสร้างขั้นตอน เช่น  How to make salad. ควรใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย อาจจะนำคำศัพท์เทคนิคมาใช้ มีการใช้คำเชื่อมในแต่ละขั้นตอน โดยใช้ before, first, next, as soon as, now and after. ต่อมาเป็นการเขียนที่เรามักใช้กันบ่อยคือ information report คือการเขียนเพื่อรายงานข้อมูล จะต้องมีความละเอียดและเป็นความจริง สำหรับรูปแบบในการเขียนจะต้องเป็นทางการ ทั้งในภาษาและเนื้อหา อาจจะมีตารางและรูปภาพใช้ในการอธิบายข้อมูลนั้นๆ ในส่วนของการสรุปจะต้องสรุปเน้นเนื้อหาที่สำคัญๆ
Explanation เป็นการเขียนเชิงอธิบาย เช่น การอธิบายตาราง การอธิบายกราฟ ในการเขียนจะต้องเขียนให้ชัดเจนเข้าใจง่ายมีการเชื่อมประโยค เชื่อมคำ มีเหตุมีผลและมีการเปรียบเทียบ ต่อมาเป็นดารเขียนแบบ personal response ซึ่งเป็นการเขียนบรรยายบุคคล แสดงถึงความประทับใจว่าเราประทับใจอะไรในตัวเขา หรือ ไม่เพียงแต่บรรยายได้แค่ตัวบุคคลเท่านั้น ยังเป็นการบรรยายเกี่ยวกับสถานที่ งาน หนังในโรงภาพยนตร์ว่าเราประทับใจส่วนไหน ซึ่งรูปแบบของการเขียนนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นทางการ
ถัดมาเป็นรูปแบบการเขียนจดหมาย มีทั้งหมด 17 ประเภท ประเภทแรกคือ the personal letter เป็นจดหมายที่บุคคลหนึ่ง เขียนถึงอีกบุคคลหนึ่งด้วยเรื่องส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย ไม่ได้ว่าด้วยเรื่องธุรกิจหรืออื่นๆ เช่น จดหมายปลอบใจ จดหมายอำลา จดหมายรัก จดหมายขอโทษ จดหมายขอบคุณ จดหมายอ้างอิง จดหมายลาออก และ จดหมายจากครูถึงผู้ปกครอง เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เรามักเคยเขียนกันเป็นประจำ จดหมายชนิดนี้มีการใช้รูปแบบของจดหมายตามจุดประสงค์
The formal letter คือจดหมายแบบเป็นทางการ ภาษาที่ใช้รวมทั้งรูปแบบจดหมายก็ต้องใช้แบบเป็นทางการ เช่น จดหมายธุรกิจ หรือจดหมายสมัครงาน ซึ่งจะต้องเป็นจดหมายที่มีเนื้อหาครบถ้วน ถูกต้องและชัดเจน จดหมายประเภทต่อมาคือ invitations เป็นจดหมายเชิญ ซึ่งจากการที่ดิฉันได้ศึกษาเพิ่มเติมนั้น invitations มีสองประเภทคือ formal invitation และ informal invitation ซึ่ง formal invitation หมายถึงการเชิญที่เป็นไปตามระเบียบเป็นทางการโดยส่วนใหญ่เป็นการเชิญในงานพิธีใหญ่ ส่วน informal invitation นั้นหมายถึงเป็นจดหมายเชิญที่ไม่เป็นทางการ
Diary extract เป็นการเขียนถึงประสบการณ์ของตัวเองว่าเราทำอะไร อย่างไร เราประทับใจอะไร เราอยากเก็บบางเหตุการณ์ที่เราชอบ มีการเขียนวัน วันที่ เวลา กำกับ เป็นย่อหน้าสั้นๆ อารมณ์ที่ใช้เขียน เขียนเป็นตามธรรมชาติแล้วแต่อารมณ์ที่อยากเขียน ในการเขียนเรื่องราวนั้นจะพูดถึงความคิดเห็นอารมณ์ของตนเอง ต่อมาเป็น Feature article เป็นบทความที่เขียนแบบสารคดีมีการวิเคราะห์วิจารณ์ควบคู่กันไป ทำให้มีสาระมากกว่าความบันเทิง
pamphlet หรือแผ่นพับที่เรารู้จักกันทั่วไป ส่วนใหญ่แล้วเนื้อหาของแผ่นพับจะเป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง วัตถุ สิ่งของ บริการสถานที่ซึ่งประกอบอยู่  จุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ โดยตรงซึ่งไม่ได้ประกอบกับเรื่องใดทั้งสิ้นข้างต้น อาจจะเป็นเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจหรือเรื่องที่อยู่ในกระแส  ต่อมาคือ Advertising เป็นการเขียนโฆษณาเพื่อการโปรโมทผลิตภัณฑ์ ซึ่งการเขียนจะต้องใช้เทคนิคที่ทำให้ผู้อ่านเชื่อถือ และต้องเป็นโฆษณาที่น่าสนใจ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความจริง มีความคิดเห็น และใช้ภาษาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

จากการเรียนเรื่องประเภทของงานเขียน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนเชิงบรรยาย การเล่าเรื่อง การเขียนโฆษณา การเขียนจดหมาย ทำให้ดิฉันทราบวิธีการเขียนที่ถูกต้อง และจุดประสงค์ของการเขียนแต่ละประเภท และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพราะในทุกๆวัน เราก็คลุกคลีอยู่กับการเขียนอยู่แล้ว ฉะนั้นดิฉันจะนำความรู้จากการเรียนเรื่องนี้มาประยุกต์ เพื่อให้การเขียนมีความถูกต้องมากขึ้น และทำให้ดิฉันรู้จักการใช้ภาษาสำหรับการเขียนมากขึ้น ว่าเขียนอย่างไรให้เหมาะสม เขียนอย่างไรให้น่าสนใจ มีเทคนิคในการเขียนมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น