วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล


คำว่า โครงสร้าง ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Structure

                ภาษามีโครงสร้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ซับซ้อน ภาษาประกอบไปด้วยส่วนต่างๆมากมายและส่วนประกอบเหล่านี้จะมีการเรียงตัวอย่างเป็นระบบ ส่วนประกอบในภาษามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและมีกฏหรือระเบียบของความสัมพันธ์ โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา
เราพูดเป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษา โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกเราว่า เราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันหรือเรียงกันอย่างไรจึงจะเป็นที่เข้าใจของคนที่เราสื่อสารด้วย ในการใช้ภาษาใดก็ตาม ถ้าเราไม่รู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษานั้นเราจะล้มเหลวในการสื่อสาร คือฟังหรืออ่านไม่เข้า และพูดหรอเขียนให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้




1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
                ชนิดของคำ (part of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสาร ประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
                ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category) คือลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งสัมพันธ์กับชนิดของคำ
                                1.1.คำนาม เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ พบว่าประเภททางไวยากรณ์เป็นลักษณะสำคัญในภาษาอังกฤษ แต่ไม่เป็นลักษณะสำคัญในภาษาไทย ได้แก่
                                                1.1.1.บุรุษ (person) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึง ผู้พูด (บุรุษที่1) ผู้ที่ถูกพูดด้วย (บุรุษที่2) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง (บุรุษที่3)
                                                1.1.2.พจน์ (number) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน เช่น a / an
                                                1.1.3 การก (case) ประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้น ว่าอยู่ในบทบาทอะไร ในภาษาอังกฤษการรกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ
                                                1.1.4 นามนับได้ กับ นามนับไม่ได้ คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องกาแบ่งเป็น นามนับได้  และนับไม่ได้ ในภาษาอังกฤษผู้พูดทุกคนแยกความแตกต่างระหว่างคำนาม โดยการใช้ตัวกำหนด a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์ และเติม –S ที่นามนับได้พหูพจน์ ส่วนนามนับไม่ได้ไม่ต้องเติม a / an และ –s
                                                1.1.5 ความชี้เฉพาะ (definiteness) มีความสำคัญในภาษาอังกฤษ แต่ไม่มีความสำคัญในภาษาไทย ได้แก่การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ เครื่องหมายที่จะบ่งชี้ความชี้เฉพาะ ได้แก่ a /an บ่งบอกความไม่ชี้เฉพาะ และ the บ่งบอกความชี้เฉพาะ ดังนั้นเวลาคนไทยแปลต้องระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ
                                1.2. คำกริยา เป็นหัวใจของประโยค
                                                1.2.1.กาล (tense) คำกริยาภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีต หรือไม่ช่อดีต แต่ในภาษาไทยจะไม่เน้นเรื่องเวลาของเหตุการณ์
                                                1.2.2. มาลา (mood) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร ในภาษาไทยไม่มีการแสดงมาลา แต่ภาษาอังกฤษมี
                                                1.2.3. วาจก (voice) บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำหรือถูกกระทำ
                                                1.2.4. กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ (finite and non-finite) ในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้ หนึ่งประโยคจะมีกริยาได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น
                                1.3. ชนิดของคำประเภทอื่น คำที่เป็นปัญหาในตัวศัพท์เองได้แก่คำบุพบท ผู้แปลต้องหมั่นสังเกตบุพบทที่ใช้ต่างกันในสองภาษา

2.หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
                หน่วยสร้าง (construction) หมายถึง หน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยและภาษาไทยพบว่ามีความแตกต่างกัน ผู้แปลควรให้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษ
                                2.1. หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด + นาม
                                2.3. หน่วยสร้างกรรมวาจก 
                                2.4.หน่วยสร้างประโยคเน้น subject กับ ประโยคเน้น topic

                                2.5. หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย หน่วยสร้างในภาษาไทยไม่มีในภาษาอังกฤษ และมักเป็นปัญหาในการแปล ได้แก่ หน่วยสร้างกริยาเรียง


                ในการแปลผู้แปลมักนึกถึงศัพท์  เช่นเมื่อเเปลไทยเป็นภาษาอังกฤษก็พยามค้นหาศัพท์ในภาษาอังกฤษที่เทียบเท่ากับภาษาไทย นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาในการแปล  ปัญหาที่สำคัญ คือปัญหาทางโครงสร้าง หากผู้แปลตระหนักในความสำคัญของความแตกต่างทางโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นั่นคือ เรื่องชนิดของคำ ประเภททางไวยากรณ์ รูปประโยค ผู้แปลจะมีปัญหาในการแปลน้อยลงและผลงานที่แปลจะใกล้เคียงกับภาษาแม่มากที่สุด
              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น