ภาษาอังกฤษมีองค์ประกอบหลายประการทั้งกาล
(Tense) หลักไวยากรณ์ (Grammar) รวมถึงคำศัพท์
(Vocabulary) เราสามารถเก่งและใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วด้วยการให้เวลากับการทุ่มเทฝึกฝนในเรื่องของสิ่งต่างๆ
สำนวน (Idiom) ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ผู้เรียนภาษาอังกฤษต้องให้ความสำคัญ
สำนวนหมายถึงกลุ่มคำที่นำมารวมกันแล้วทำให้เกิดเป็นความหมายใหม่
แตกต่างไปจากความหมายของคำแต่ละคำที่อยู่ตามลำพัง
อีกทั้งภาษาอังกฤษก็เป็นภาษาที่ซับซ้อนเต็มไปด้วยสำนวน ดังนั้นการทราบถึงสำนวน
ที่มาที่ไปอีกทั้งสถานการณ์การใช้จริงของสำนวนนั้นๆ
ก็จะช่วยให้เราสามารถใช้ภาษาได้อย่างเป็นธรรมชาติเหมือนกับเจ้าของภาษา
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ทักษะการฟัง การเขียน การพูด
เราก็สามารถฝึกได้จากวิธีต่างๆที่หลากหลาย
สำนวน
(Idiom) ที่มีคำศัพท์เกี่ยวกับ animals ได้แก่ Eat like a horse กินมากกินจุ
ที่มาที่ไปของสำนวน คือ
คนไทยเราจะเปรียบเทียบลักษณะของคนที่กินมากหรือกินจุเหมือนหมู
ฝรั่งจะเปรียบเทียบพฤติกรรมเดียวกันนี้กับม้า
เนื่องจากเชื่อกันว่าม้าเป็นสัตว์ที่สามารถกินเยอะและกินได้ทั้งวันไม่หยุด
ตัวอย่างประโยคเช่น No wonder Ping is becoming so fat. He eats like a
horse. (ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมปิ๊งถึงอ้วนขึ้น
ก็เขากินเยอะซะขนาดนั้น) Nid eats like a horse, so I don’t know how she
manages to stay thin. (นิดกินเยอะมาก
ฉันเลยไม่เข้าใจว่าเธอทำอย่างไรถึงยังคงผอมอยู่)
Sick as a dog ป่วยหนักถึงขั้นอาเจียน
โดยเฉพาะปัญหาที่ช่องท้อง ที่มาที่ไปของสำนวนคือ
สำนวนนี้มีการใช้ย้อนไปตั้งแต่สมัยปี ค.ศ.1705 แต่สาเหตุที่ว่าทำไมถึงเปรียบเทียบอาการป่วยนี้กับสุนัขยังไม่ปรากฏแน่ชัด
สันนิษฐานว่า อาจจะเป็นเพราะลักษณะนิสัยของสุนัขที่กินอาหารไม่เลือก โดยเฉพาะสุนัขที่ไม่มีเจ้าของ
จนต้องป่วยและอาเจียนออกมา ตัวอย่างประโยคเช่น I don’t know what was in
that soup but I was sick as a dog all night. (ผมไม่รู้ว่าในซุปนั่นมีอะไรหรือเปล่า
ผมถึงได้ป่วยหนักทั้งคืนเลย)
Let the cat out of the bag เผลอบอกความลับโดยบังเอิญ
เผยความลับออกไปโดยไม่ตั้งใจ ที่มาที่ไปของสำนวนคือ
สำนวนนี้มีเชื่อมโยงกับลักษณะการทำการค้าของฝรั่งในสมัยกลางศตวรรษที่ 17 คือ วิธีปฏิบัติที่ถือว่าไม่ดี ไม่เหมาะสมของพ่อค้าหมู ที่แอบเอาแมว
ซึ่งถือว่าไม่มีประโยชน์ใดๆ เพราะไม่สามารถประกอบเป็นอาหารได้ ใส่ลงใปในกระสอบให้ลูกค้าแทนหมู
และลูกค้าที่ซื้อไปก็จะรู้ความจริงเอาก็ต่อเมื่อตนได้มาถึงบ้าน
เปิดกระสอบดูพบว่าแท้จริงแล้วข้าวในกระสอบเป็นแมว ตัวอย่างประโยคเช่น I was
trying to keep the party a secret, but Nampueng went and let the cat out of the
bag. (ฉันพยายามจะเก็บเรื่องราวปาร์ตี้ไว้เป็นความลับ
แต่น้ำผึ้งก็เผลอไปบอกความลับแก่คนอื่นเข้า)
Smell a rat มีความรู้สึกถึงสิ่งผิดปกติ
สังหรณ์ใจว่ามีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้น ที่มาที่ไปของสำนวนคือ
ฝรั่งมีความเชื่อมั่นในลักษณะเดียวกันกับคนไทยว่าหนูเป็นสัตว์ที่สกปรกและเป็นพาหนะนำเชื้อโรคมาสู่คนและสัตว์ที่มีความสามารถในการดมกลิ่นของหนูและจับหนูได้ดีที่สุดก็คือแมวนั่นเอง
เขานำสำนวนที่รู้สึกผิดปกตินี้ไปเชื่อมโยงกับลักษณะอาการที่แมวได้กลิ่นของหนูนั่นเอง
ตัวอย่างประโยคเช่น When my husband started working late three or four
time a week, I smelled a rat. (ฉันเริ่มรู้สึกถึงความไม่ชอบมาพากล
ช่วงที่สามีของฉันเริ่มจะเลิกงานดึก 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์)
Rat on someone รายงานความผิด
ฟ้องหรือบอกถึงความผิดของคนอื่น หักหลังคนอื่นด้วยการแอบเปิดข้อมูล
ที่มาที่ไปของสำนวนคือ สำนวนนี้มีการใช้ย้อนตั้งแต่สมัยต้นคริสตศักราช 1900
แต่ที่มาที่ไปนั้นปรากฏไม่แน่ชัด ตัวอย่างประโยคเช่น He
ratted on his neighbors to the police because they were smuggling alcohol from
France. (เขาหักหลังเพื่อนบ้านด้วยการแอบรายงานตำรวจ
เนื่องจากพวกเขาลักลอบนำเข้าแอลกอฮอล์จากฝรั่งเศส) If
she rats on me, I swear, I’ll never talk to her again! (ถ้าเธอหักหลังฉันด้วยการแอบเปิดเผยความลับ
ฉันสาบานเลยว่าจะไม่พูกับเธออีก)
Monkey business พฤติกรรมที่เล่นๆไม่เอาจริงเอาจัง, พฤติกรรมที่ไม่น่าเชื่อถือไม่น่าไว้ใจ ที่มาที่ไปของสำนวนคือ
สำนวนนี้มีที่มาจากการที่ฝรั่งนำพฤติกรรมของลิงที่ซุกซน ขี้เล่นอยู่ตลอดเวลา
มาเปรียบเทียบพฤติกรรมของมนุษย์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ไม่น่าไว้วางใจ
ตัวอย่างประโยคเช่น The teacher told the children to cut out the monkey
business and get back to work. (คุณครูบอกให้เด็กๆ
เลิกเล่นซุกซนและทำงานต่อให้เสร็จ) I don’t really
trust that lawyer, there must be some monkey business going on. (ฉันไม่ไว้ใจทนายความคนนั้นเท่าไร
ต้องมีอะไรไม่ชอบมาพากลอยู่แน่ๆ)
Monkey suit ชุดทักซิโด้ ชุดใส่ไปงานราตรี
แบบชายสั้นของผู้ชาย ที่มาที่ไปของสำนวนคือ เป็นคำพูดติดตลกที่ใช้เปรียบเทียบกับชุดที่ลิงของนักแสดงข้างถนนใส่เล่นดนตรีเสียงดังเพื่อขอและเรี่ยไรเงินจากผู้ที่สัญจรผ่านไปมา
ทางฝั่งประเทศตะวันตกในช่วงสมัยศตวรรษที่ 19-20 เนื่องจากชุดดังกล่าวที่ลิงใส่มีลักษณะคล้ายคลึงกับชุดทักซิโด้
ตัวอย่างประโยคเช่น Do I really have to wear a monkey suit to dinner with
you tonight ? (ผมต้องใส่ชุดทักซิโด้ไปรับประทานอาหารค่ำกับคุณคืนนี้จริงๆเหรอ)
Talk turkey คุยอย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา
พูดคุยอย่างจริงจัง ที่มาที่ไปของสำนวน คือ
มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องเล่าของฝรั่งอยู่เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับชายอินเดียนแดง
และชาวผิดขาวคู่หนึ่งที่ออกล่าสัตว์ด้วยกัน ชายผิวขาวเป็นคนพูดขึ้นมาก่อนว่า ‘ฉันจะล่าไก่งวงและให้นายล่าอีแร้งนะ
หรือไม่ก็ให้นายล่าอีแร้งแล้วฉันล่าไก่งวงแทน’ ชายอินเดียนแดงจึงอบด้วยความไม่พอใจออกไปว่า
‘พูดเรื่องไก่งวงตรงๆกับฉันเลยก็ได้’
เนื่องจากอีแร้งเป็นสัตว์ที่รับประทานไม่ได้
ชายผิวขาวจึงทำทีพูดอ้อมค้อมให้ชายอินเดียนแดงล่าอีแร้งแทน ตัวอย่างประโยคเช่น JS
wanted to talk turkey, but Bo just wanted to joke around. (เจเจต้องการจะคุยอย่างเปิดอก
แต่โบแค่อยากจะล้อเล่นเท่านั้น)
จากการอ่านสำนวน
(Idiom) ภาษาอังกฤษนั้น
ทำให้ทราบสำนวนแปลกๆใหม่ๆเยอะขึ้น และทราบที่มาที่ไปของแต่ละสำนวนด้วย
และนอกจากนั้นยังได้ฟังสำนวนที่มีเจ้าของภาษาเป็นต้นเสียงทำให้ได้ซึมซับสำเนียงขงเจ้าของภาษาไปด้วยในตัว
ได้ทั้งคำศัพท์ใหม่และความรื่นรมย์ในการฟังสำนวนภาษาอังกฤษ ฉะนั้นการเรียนรู้สำนวนภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษาจะช่วยฝึกแบะพัฒนาภาษาอังกฤษของตนให้เก่งขึ้นในอีกระดับหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น