วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การถ่ายถอดตัวอักษร

จากการเรียนรู้ครั้งนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการถ่ายทอดตัวอักษร (transliteration)ในภาษาไทยนั้นไม่ได้ใช้อักษรโรมันในการติดต่อสื่อสาร เพื่อให้คนไทยได้สื่อสารกับคนต่างชาติได้นั้นจำเป็นต้องเรียนรู้ทางการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน ส่วนมากจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ ชื่อศิลปกรรม ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อเทคโนโลยี เป็นต้น ฉะนั้นการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสื่อสารของสังคมในปัจจุบัน
ในการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน โดยการถอดอักษรตามวิธีเขียน (Transliteration) ซึงการถ่ายถอดเช่นนี้เป็นการถอดอักษรตามวิธีเขียนผู้ที่ถอดจะต้องถอดตามตัวอักษรทุกตัวที่มีอยู่ในคำหรือประโยคนั้น บางครั้งเราสามารถสะกดคำและสามารถถอดอักษรกลับไปยังคำเดิมได้ แต่ในการอ่านออกเสียงนั้นจะยากและบางคำที่ถอดออกมามีมากเกินความจำเป็นในการออกเสียง
ซึ่งการถอดตัวอักษรนั้นก็ยอมมีหลักเกณฑ์ในการถอดคือในการถออดอักษรจะตัวสะกดการันต์และวรรณยุกต์ไม่มีการใช้ในภาษาอังกฤษจึงไม่มีความจำเป็นที่จะถอด ผู้ถอดจะใช้เสียงในการเปรียบเทียบที่ใกล้เคียงที่สุด เช่น ส ศ ษ= s (สี) , ม  = m (ม้า) และส่วนทางด้านสระ เช่น อา = a การกำเนิดอักษรเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดคำมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้และเมื่อนำคำมารวมกันก็จะเกิดเนประโยคจนสามารถสื่อการกับคนในสังคมได้
 ต่อมากล่าวถึงคำประสม หมายถึงหน่วยคำตั้งแต่ 2 หน่วยคำขึ้นไป เมื่อรวมกันแล้วเกิดความหมายใหม่หรือความหมายเพิ่มจากเดิม เช่น ลูกชิ้น ปลากัด  นอกจากนี้คำสามานยนาม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือคำนามทั่วไป กับชื่อภูมิศาสตร์ก็เป็นคำนามทั่วไปชนิดหนึ่ง แต่จะบอกลักษณะของภูมิประเทศ ธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ หนองคลอง ลำธาร หรืภูมิศาสตร์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง เช่นตึก เขื่อน นอกจากนี้รวมถึงเขตการปกครองด้วย เช่น ประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล
คำวิสามานยนาม หมายถึงคำที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสถานที่และชื่อองค์กร เป็นคำที่ใช้นำหน้านาม คำนี้จะปรากกฎอยู่หน้าคำวิสามานยนามจะทำหน้าที่บอกลักษณะสภาพของคำวิสามานยนามนั้น เช่น นาง……, เด็กชาย……,เด็กหญิง……ฯลฯการทับศัพท์ เป็นการเขียนข้อความหรือภาษาหนึ่งไปสู่ภาษาหนึ่งอย่างมีหลักการจะช่วยให้ผู้เขียนสามารถเขียนคำในภาษาต่างประเทศได้ง่ายขึ้น จะนิยมเขียนเกี่ยวกับ ชื่อบุคคล สถานที่ หรือชื่อเฉพาะที่ไม่สามารถแปลความหมายเป็นภาษาอื่นได้
 คำทับศัพท์ จะเป็นคำภาษาต่างประเทศที่ผู้เขียนมักจะเขียนด้วยตัวอักษรไทย เช่น คอมพิวเตอร์ แทน computer นอกจากนี้ยังมีการถอดตัวเลขด้วย  โดยหลักการถอดก็จะเหมือนกับการถอดอักษร มักจะเขียนอักษรโรมันตามเสียงที่เราอ่านกันในภาษาไทย เช่น ๑..๓ ห้าจุดเจ็ดจุดสี่ (nueng chut sam chut sam) เป็นต้น
ดังนั้นการถ่ายทอดตัวอักษร (transliteration) ไม่ว่าจะเป็นการตัวอักษรชนิดใดก็ต้องอาศัยหลักการเทียบเสียงซึ่งเสียงจะต้องออกเสียงคล้ายกันและต้องคงรูปแบบความหมายของต้นฉบับเดิมไว้ โดยใช้ตารางเปรียบเทียบเสียงโรมันฉะนั้นการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสื่อสารของสังคมในปัจจุบัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น