วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน (แบบถ่ายเสียงหลักเกณฑ์)

ในการใช้หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน เป็นการถอดโดยวิธีการถ่ายเสียง  เพื่อให้การอ่านคำภาษาไทยที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้ใกล้เคียง โดยไม่มีการคำนึงถึงการสะกดการันต์ และวรรณยุกต์  เช่น จันทร์ chan, พระ phra  และแก้ว kaeo ทุกวันนี้เรามักสังเกตเห็นคำจำนวนมากมายที่ยังมีการถอดอักษรมาใช้แบบผิดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราสามารถเห็นได้จากป้ายบอกทิศทาง สถานที่ต่างๆ และการถอดชื่อบุคคล ในบทเรียนดังกล่าวจะนำเสนอเนื้อหาที่ประกอบไปด้วยเรื่องการเทียบเสียงพยัญชนะและสระ  ความหมายของคำ  การใช้เครื่องหมาย “-”  เพื่อแยกพยางค์ การแยกคำ การใช้อักษรตัวใหญ่ การถอดชื่อภูมิศาสตร์และการถอดคำทับศัพท์
ประการแรกคือการเทียบเสียงพยัญชนะและสระ มักจะมีการสะกดผิดกันบ่อยมากในอักษรบางตัวและสระบางตัว เช่น ตัว จ ช สระอี สระอู เป็นต้น ในทางสัทศาสตร์ ใช้  h เป็นตัวสัญลักษณ์เพื่อแสดงลักษณะเสียง h ที่ประกอบหลัง k p t ในทางสัทศาสตร์ ใช้ c แทนเสียง จ  เพื่อแสดงลักษณะเสียงธนิต สังเกตการอ่านเป็นเสียง ค ในคำว่า con และออกเสียง ซ ในคำว่า cit  ใช้ ch แทนเสียง จ เช่นจุฬา (Chula) และเสียงสระอึ อืกับ อุ อู จึงใช้ u  แทน อุ อู และใช้ ue แทน อึ อื และไม่มีการประสมด้วยสระเสียงนี้ใช้ในภาษาไทย สองความหมายของคำ ได้แก่ คำนามทั่วไป นามเฉพาะชื่อบุคคล สถานที่ คำนำหน้านามและคำทับศัพท์ ตามหลักเดิม เสียงอิว ใช้ iu เอียว ใช้ ieuแต่เนื่องจากหลักเกณฑ์นี้เสียงที่มีเสียง ว ลงท้าย และจะไม่มีคำที่ประสมด้วยสระเสียงนี้ใช้ในภาษาไทย
 ประการที่สอง ความหมายของคำหน่วยคำหมายถึงหน่วยที่เล็กที่สุดและมีความหมาย อาจมีเพียงพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ เช่น นาที ลอง กอง ลองกอง นาฬิกา คำหมายถึงหน่วยคำหนึ่งคำหรือมากกว่านั้น เช่นหน้า โต๊ะ ลูกเสือ จานผี มหาราช ประชาชน สำหรับคำประสมคือหน่วยคำตั้งแต่สองคำขึ้นไป เมื่อรวมกันแล้วมีความหมายใหม่หรือมีความหมายเพิ่มขึ้นจากเดิม เช่นลูกเสือ จานผีลมกรด คำสามานยนาม ประกอยด้วยคำทั่วไป เช่น พระ คน เสื้อ สัตว์ แมว นก ต้นไม้ มะม่วง โต๊ะ วิทยุ บันได และชื่อภูมิศาสตร์คือคำนามทั่วไปที่บอกลักษณะภูมิประเทศตามธรรมชาติ เช่นภูเขา ควน ดอย พนม แม่น้ำ ลำคลอง ห้วย หนอง หรือคำนามทั่วไปทางภูมิศาสตร์ที่มนุษย์ทำขึ้น เช่น ท่าเรือ ถนน ซอย สะพาน และ
                การใช้เครื่องหมาย “  - ” เพื่อแยกพยางค์ ในกรณีที่คำซึ่งมีหลายพยางค์ ตัวอักษรตัวสุดท้ายของพยางค์หน้าเป็นสระ และอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ เช่น สง่า คือ Sa-nga เมื่อตัวสุดท้ายของพยางค์หน้าเป็น ng และตัวอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ เช่น บังอร Bang-on และเมื่ออักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระ เช่น สะอาด Sa-at  สำหรับการแยกคำ ในการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันให้เขียนแยกเป็นคำๆ เช่น ถนนโชคชัย Thanon Chok Chai ยกเว้นคำประสมซึ่งถือว่าเป็นคำเดียวกัน และวิสามานยนามที่เป็นชื่อบุคคล ให้เขียนติดกัน เช่น ลูกเสือ luksuea
            การใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ อักษรตัวแรกของวิสามานยนาม และคำนำหน้านามที่อยู่หน้าคำวิสามานยนามนั้นๆ ให้ใช้อักษรโรมันตัวใหญ่ เช่น นายปรีดา อยู่เย็น คือ Nai Prida Yuyen อักษรตัวแรกของคำแรกแต่ละย่อหน้าให้ใช้อักษรโรมันตัวใหญ่ และการถอดชื่อภูมิศาสตร์ ให้ถอดคำสามานยนามที่เป็นชื่อภูมิศาสตร์เป็ฯอักษรโรมันโดยไม่ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ เช่น เขาสอยดาว Khao Soi Dao โดยจะไม่ใช้ Soi Dao Hill และสำหรับการถอดคำทับศัพท์คำทับศัพท์ที่เป็นวิสามานยนาม ให้เขียนตามภาษาเดิม ซึ่งคำทับศัพท์ที่เป็นส่วนหนึ่งขอวิสามานยนามและไม่ประสงค์จะแปลชื่อวิสามานยนามนั้น ให้เขียนคำทับศัพท์นั้นเป็ฯอักษรโรมันตามการออกเสียงในภาษาไทย รวมถึงการถอดเครื่องหมายต่างๆ การถอดคำย่อและการถอดตัวเลข
            อย่างไรก็ตามในการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงต้องมีการศึกษาหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องเพราะจะทำให้เราสามารถถอดคำทับศัพท์ต่างๆได้อย่างถูกต้อง ซึ่งคำทับศัพท์ต่างๆอันได้แก่ ชื่อสถานที่ โรงเรียน ภูมิประเทศ รวมถึงชื่อบุคคลต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้การศึกษาในครั้งนี้ได้เกิดประโยชน์สูงสุด นักศึกษาจึงควรที่จะหาความรู้เพิ่มเติมอยู่บ่อยๆ และการเลือกใช้คำต่างๆให้ถูกต้อง รวมถึงการฝึกถอดคำ โดยเริ่มจากสิ่งที่อยู่ใกล้ๆตัวเรา นั่นคือการฝึกถอดชื่อตัวเองหรือชื่อเพื่อน ที่อยู่  หรือแม้แต่ภูมิลำเนาเดิมของตนเองและเพื่อนๆ เพียงแค่นี้ เราก็สามารถที่จะนำบทเรียนนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

               


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น