การเรียนรู้ให้เกิดผลนั้นจะต้องเกิดจากการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
ซึ่งการเข้าชั้นเรียนในวันนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางภาษา ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนและผู้สอน
และเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ส่วนการเรียนรู้นอกห้องเรียนของดิฉันคือการฝึกทำแบบฝึกหัดในหนังสือ
English Grammar in Use ได้เรียนรู้ทั้งไวยากรณ์และวัฒนธรรมการใช้ภาษาของชาวต่างชาติ
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนคือ
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางภาษา ซึ่งก็คือ Comprehensible
Input = I + 1 โดย I หมายถึง Input มีความเกี่ยวข้องกับผู้เรียนโดยตรง เป็นการให้ความรู้ผู้เรียนโดยทราบพื้นฐานความรู้เดิม
ส่วน 1 หมายถึง ผู้สอนให้ความรู้ที่ยากกว่าระดับความรู้เดิมของผู้เรียนอีกระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ทฤษฎี Comprehensible Input คือ ผู้สอนต้องจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้ผู้เรียน
เข้าใจสิ่งที่ป้อนเข้าไป ซึ่งเป็นการพัฒนาผู้เรียนจาก I ไปสู่
I + 1 โดยพัฒนาจากความรู้เดิมของผู้เรียนโดยใช้ความรู้จากแหล่งต่างๆ
เพื่อช่วยให้ผู้เกิดความเข้าใจ
การเรียนรู้หลักการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
การแปลเริ่มจากการรูจักและเข้าใจไวยากรณ์และระดับประโยค เราต้องหนักถึงความแตกต่างทางโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
เพราะจะทำให้การแปลมีประสิทธิภาพมากขึ้น การแปลนั้นจะต้องกระชับรัด สละสลวย
ใจความสมบูรณ์ ตรงตามต้นฉบับ สิ่งสำคัญในการแปลอย่างหนึ่งคือ กาล คำกริยา
ในภาษาอังกฤษจะบอกการกระทำว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เวลาแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย จะมีปัญหาเรื่องเวลา
ประโยคภาษาอังกฤษใช้กาลต่างกัน แต่เมื่อแปลเป็นภาษาไทยกลับเหมือนกัน ทำให้การแปลไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
เช่น
1)
He lived in Nakhon Sri Thammarat for
a year.
2)
He has lived in Nakhon Sri Thammarat
for a year.
ประโยคทั้งสองมีความคล้ายกัน
แตกต่างกันที่กาลเท่านั้น ในประโยคแรกเป็น Past Simple
Tense เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต
ส่วนในประโยคที่สองเป็น Present Perfect Tense เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและยังดำเนินต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
จากประโยคภาษาอังกฤษ ข้อ 1) ความหมายในภาษาไทยคือ
เขาเคยอยู่นครศรีธรรมราชหนึ่งปี ข้อ 2) ความหมายในภาษาไทยคือ
เขาอยู่นครศรีธรรมราชมาหนึ่งปีแล้ว
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอื่นๆอีกเช่น He had never been in London until
last summer. (เราไม่เคยไปลอนดอนมาก่อนเลยจนกระทั่งฤดูร้อนที่แล้ว) , My friend is travelling in Japan. (เพื่อนของฉันกำลังท่องเที่ยวอยู่ที่ญี่ปุ่น) , Oranges grow in warm climate. (ส้มขึ้นในที่ที่อากาศอบอุ่น)
การเรียนรู้นอกห้องเรียนของดิฉันคือ
การทำแบบฝึกหัดในหนังสือ English Grammar in Use ดิฉันเริ่มทำในหน่วยที่ 1 Present
Continuous Tense (I am doing) แต่ละหน่วยจะมีแค่สองหน้าโดยหน้าแรกจะเป็นคำอธิบาย
ตัวอย่างประโยค ส่วนหน้าที่สองจะเป็นเป็นแบบฝึกหัด การอธิบายของหนังสือเล่มนี้ในหน่วยที่
1 จะเป็นการยกตัวอย่างสถานการณ์ว่า Ann อยู่ในรถยนต์ เธอกำลังเดินทางไปทำงาน She is driving to work. ประโยคนี้หมายคามว่า ในขณะนี้ Ann กำลังขับรถอยู่
และการขับรถยังไม่สิ้นสุดลง
is / am / are ตามด้วย verb –ing เป็น
Present Continuous Tense (ปัจจุบันกาลต่อเนื่อง)
I am ( = I’m )
|
driving
|
He / She / It is ( = he’s )
|
working
|
We / You / They are ( = we’re )
|
doing
|
การเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
ทำให้ดิฉันเกิดการพัฒนาไปอีกหนึ่งขั้น
การเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนทำให้ดิฉันรู้จักคำศัพท์เพิ่มมากขึ้น
เข้าใจไวยากรณ์มากขึ้น ทำให้ดิฉันสามารถพัฒนาการเรียนให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการแปล
หากฉันรู้จักคำศัพท์ เข้าใจไวยากรณ์ มันก็ทำให้ฉันแปลได้ดีขึ้น
และสามารถนำไปต่อยอดได้หลายๆอย่าง การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด มนุษย์เรายิ่งเรียนรู้
ก็ยิ่งได้รับประโยชน์ อยู่ที่ว่าจะมีความพยายามและขวนขวายมากแค่ไหน
ไม่มีใครจะทำให้เรารู้มากขึ้นนอกจากตัวเราเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น