วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

ความสำคัญของการแปล
ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง และมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆมากขึ้น ผู้ที่ทำการติดต่อบางคนอาจจะรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอ จึงต้องอาศัยผู้แปล เพื่อประหยัดเวลาและให้งานมีประสิทธิภาพ งานแปลจึงสามารถยึดเป็นอาชีพได้

การแปลในประเทศไทย
การแปลในประเทศไทยเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก

การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัยเป็นการสอนไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ

การแปลคืออะไร
การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ ไม่มีการตัดต่อหรือเติมแต่ง ควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามต้นฉบับ

คุณสมบัติของผู้แปล
1.รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2.สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
3.เป็นผู้มีศิลปะในการใช้ภาษาและวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์
4.เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์
5.ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รอบรู้ รักเรียน รักการอ่าน และรักการค้นคว้าวิจัย
6.ผู้แปลต้องมีความอดทนและเสียสละ เพราะต้องใช้ความคิดและเวลา

  • จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปล คือ สอน ฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคม


 วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1.เพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
2.ผู้แปลต้องอ่านเข้าใจ สามารถจับใจความสำคัญได้และสามารถถ่ายทอดความเข้าใจนั้นออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้ และตองมีการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้นจนเกิดความชำนาญ
3.มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง
4.ให้ผู้เรียนได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพ


ลักษณะของงานแปลที่ดี
มีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับใช้ภาษาที่ชัดเจนกระชับความ ใช้รูปแบบประโยคสั้นๆแสดงความคิดเห็นได้แจ่มแจ้ง ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสมและรักษาแบบของต้นฉบับไว้

ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1.ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ปรับให้เป็นสำนวนไทยตามที่ใช้กันโดยทั่วไป
2.เน้นความชัดเจนของภาษาเป็นสำคัญ
3.ใช้การแปลแบบตีความ แปลแบบเก็บความเรียบเรียงและเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ

การแปลกับการตีความจากบริบท
ความใกล้เคียง (Context) และความคิดรวบยอด (Concept) ไม่ใช่แปลแบบให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน แต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ

การวิเคราะห์ความหมาย
สิ่งที่จะต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความหมาย คือ  องค์ประกอบของความหมาย ความหายและรูปแบบ ประเภทของของความหมาย

                          องค์ประกอบของความหมาย
                         1.คำศัพท์ ความหมายของคำแต่ละคำจะเปลี่ยนแปลงไปได้ในบริบทต่างๆตามที่คำนั้นปรากฏอยู่
                         2.ไวยากรณ์ แบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา เพื่อให้เป็นประโยคที่มีความหมาย
                         3.เสียง จะนำเสียงเหล่านี้มารวมกันอย่างมีระบบระเบียบ ทำให้เกิดหน่วยที่มีความหมาย เรียกว่า คำ หรือ คำศัพท์

                         ความหมายและรูปแบบ
                        1.ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
                        2.รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย แต่ไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป ขึ้นอยู่กับบริบท

                          ประเภทของความหมาย
                          1.ความหมายอ้างอิง คือ ความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
                          2.ความหมายแปล คือ ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง
                          3.ความหมายตามบริบท คือ รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจมีความหมายได้หลายความหมาย ต้องพิจารณาจากบริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด
                         4.ความหมายเชิงอุปมา คือ ความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบโดยเปิดเผยและการเปรียบโดยนัย แบ่งองค์ประกอบของการเปรียบเทียบออกเป็น 3 ส่วน คือ สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ ประเด็นของการเปรียบเทียบ

การเลือกบทแปล
เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของคนในการแปล และให้ผู้เรียนได้ความรู้ทั้งด้านทักษะทางภาษาและเนื้อหาไปด้วย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น