วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning log week 4 ( Inside Class )


             การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษนั้นเป็นสิ่งที่คนทั่วโลกยอมรับ และในปัจจุบันก็นับได้ว่าภาษาอังกฤษนั้นเป็นภาษากลางของโลกไปแล้ว เพราะไม่ว่าจะประเทศไหนก็จะติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นในฐานะที่เราเป็นบุคลากรของชาติที่กำลังเติบโตเพื่อไปพัฒนาประเทศชาติ เราต้องหมั่นศึกษาเรียนรู้และฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษให้มีความแม่นยำเพื่อจะสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ ซึ่งการสื่อสารกับชาวต่างชาตินั้นเราต้องมีความรู้เรื่องคำศัพท์เป็นส่วนใหญ่ และการเรียงลำดับภาคประธาน ภาคแสดง ในประโยคก็เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารที่จะทำให้การสนทนามีความสมบูรณ์และเข้าใจได้ง่ายขึ้น แต่ในบางครั้ง ประโยคก็มีความซับซ้อน คือมีภาคประธานและภาคแสดง แล้วยังมีส่วนขยายเพิ่มเข้ามาอีก เพื่อเพิ่มความชัดและความเข้าใจของประโยคให้มากขึ้นอีก ฉะนั้นการทำความเข้าใจในเรื่องของประโยคนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถใช้ในการสื่อสารภาษาอังกฤษ  
Sentence (ประโยค) หมายถึง  กลุ่มคำที่ประกอบด้วยภาคประธานและภาคแสดง ที่เรียงประกอบเข้าด้วยกันอย่างเป็นระเบียบ โดยแสดงข้อความที่มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น I  am  a  monk. (ผมเป็นพระ) ภาคประธาน (Subject) คือ  I   ภาคแสดง (predicate)  คือ   am  a  monk Mahachulalongkornrajavidyalaya  university  is  the  Buddhist  university.  (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนา) ภาคประธาน (Subject) คือMahachulalongkornrajavidyalaya   university  , ภาคแสดง (predicate) คือ   is  the Buddhist  university ซึ่งประโยคในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น  4 ประเภท ได้แก่ simple sentence (ประโยคความเดียวหรือเอกัตถประโยค) , compound sentence (ประโยคความรวมหรืออเนกัตถประโยค) , complex sentence  (ประโยคความซ้อนหรือสังกรประโยค) และ compound – complex sentence  (ประโยคความผสมหรืออเนกัตถสังกรประโยค) ซึ่งแต่ละประเภทจะมีกฏเกณฑ์แตกต่างกัน
                Simple  Sentence  (ประโยคความเดียวหรือเอกัตถประโยค) หมายถึง ข้อความที่พูดออกไปแล้ว มีใจความเดียว ไม่กำกวม สามารถเข้าใจเป็นอย่างเดียวกันระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง เป็นประโยคที่มีประธานตัวเดียวและกิริยาตัวเดียว ตัวอย่างเช่น Venerable  Tawan  is  my  friend.  (ท่านตะวันเป็นเพื่อนของผม)
 Buddhism  is  one  of  the  great  world  religions. (พระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในบรรดาศาสนาโลกที่ยิ่งใหญ่)  จากประโยคทั้งสองจะสังเกตได้ว่าแต่ละประโยค จะมีประธานตัวเดียวและกิริยาตัวเดียว จึงทำให้สามารถทราบได้ว่าเป็น Simple Sentence (ประโยคความเดียวหรือเอกัตถประโยค)  นอกจากนั้นแล้ว   Simple  Sentence  (ประโยคความเดียวหรือเอกัตถประโยค)  ยังสามารถแบ่งเป็น ประโยคย่อยๆ ได้อีก 6 รูปแบบ คือ  ประโยคบอกเล่า  ( Affirmative  Sentence) , ประโยคปฏิเสธ ( Negative  Sentence ) , ประโยคคำถาม ( Interrogative  Sentence ) ,ประโยคคำถามเชิงปฏิเสธ (Negative  Question  Sentence) , ประโยคข้อร้องหรือบังคับ ( Imperative Sentence) และประโยคอุทาน (Exclamation  Sentence)
                Compound   Sentence (ประโยคความรวมหรืออเนกัตถประโยค) หมายถึง  ประโยคที่มีข้อความ  ข้อความมารวมกัน พูดง่ายๆ คือ  ประโยคความเดียว 2 ประโยคมารวมกัน แล้วเชื่อมด้วย  co-ordinate  conjunction (ตัวเชื่อมประสาน)  ได้แก่ and, or, but, so, still, yet, etc. ตัวอย่างเช่น  Venerable  Tawan  can  speak  English  and  he  can  speak  Loa.  (ท่านตะวันสามารถพูดภาษาอังกฤษและสามารถพูดภาษาลาวได้) Phramaha  Charoen  does  not  study  Loa  yet  he  can  speak it. (พระมหาเจริญไม่ได้ศึกษาภาษาลาวถึงกระนั้นเขาก็สามารถพูดภาษาลาวได้)  และ  conjunctive  adverb (คำวิเศษณ์เชื่อม) ได้แก่  however, meanwhile, therefore, otherwise, thus, etc. ตัวอย่างเช่น Venerable  Prakorng  was  ill, thus  he  went  to  see  a  doctor  at  a  hospital. (ท่านประคองป่วยดังนั้นเขาจึงไปหาหมอที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง) Jess  comes  to  see  me at  a  temple, meanwhile  I  teach  her  Buddhism. (เจสมาหาผมที่วัดระหว่างนั้นผมก็สอนพระพุทธศาสนาให้เธอด้วย) จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า Compound  Sentence  เกิดมาจาก  Simple  Sentence  2  ประโยคมารวมกัน   แล้วคั่นกลางประโยคทั้งสองด้วย co-ordinate  conjunction (ตัวเชื่อมประสาน) และ  conjunctive  adverb  (คำวิเศษณ์เชื่อม)
                Complex Sentence (ประโยคความซ้อนหรือสังกรประโยค) คือประโยคที่มีประธานและกริยามากกว่า 1 ชุด ประโยคย่อยที่แยกออกมาจากประโยคจะมีใจความไม่สมบูรณ์อยู่ นั่นคือ อนุประโยครอง (subordinate clause หรือ dependent clause) และมีประโยคหลัก มักใช้คำสันธานพวก Subordinating Conjunctions เช่น when, where , which, that, who, how, because, if , etc. ตัวอย่างเช่น My boss told me that I would be punished. จากประโยค complex sentence ข้างต้น มีประโยค main clause 1 ประโยค และประโยค subordinate clause 1 ประโยค ดังนี้ My boss told me เป็น main clause ส่วน that I would be punished เป็น subordinate clause ที่เป็นnoun clause ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา told Complex Sentence อาจจะมี subordinate clause มากกว่า1ประโยคก็ได้ ดังเช่น ประโยคตัวอย่างต่อไปนี้ When I get there I found that he had gone จากประโยค complex sentence ข้างต้น มีประโยค main clause 1 ประโยค และ ประโยค subordinate clause อีก 2 ประโยค ดังนี้ I found เป็น main clause ส่วน When I get there เป็น subordinate clause ที่เป็น adverb clause ขยายกริยา found ของประโยคหลัก และ that he had gone เป็น subordinate clause ที่เป็น noun clause ทำหน้าที่เป็นกรรมของ กริยา found ในประโยคหลัก
                Compound – complex Sentence  (ประโยคความผสมหรืออเนกัตถสังกรประโยค) คือประโยคที่ประกอบกันระหว่าง Compound Sentence กับประโยค Complex Sentence ธรรมดาๆ ดังนั้น Compound Complex Sentence จึงประกอบด้วย ประโยคหลัก (Main Clause) ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปและประโยครองหรืออนุประโยค (Subordinate Clause) อย่างน้อย 1 ประโยค ตัวอย่างเช่น While Somsak played the guitar, the boys sang and the girl danced. จากประโยคมี Main clause หรือ Principal Clause อยู่ 2 ประโยค คือ the boys sang และ the girl dance และมีประโยครองหรืออนุประโยค (Subordinate Clause) อยู่ 1 ประโยค คือ While Somsak played guitar. จากประเภทของประโยคทั้ง 4 แบบ ทำให้มองเห็นภาพของรูปแบบประโยคชัดเจนมากขึ้น และสามารถแยกได้ว่าส่วนใดเป็นภาคประธาน ส่วนใดเป็นภาคแสดง นอกจากรูปแบบประโยคที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมี Clause ที่เราต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนภาษา
Adjective clause จะนิยมใช้ในภาษาเขียนมากกว่าภาษาพูด และถือว่าเป็นไวยากรณ์อังกฤษที่ค่อนข้างยาก เพราะมีหลักการใช้ค่อนข้างมาก ก่อนจะไปทำความรู้จักกับ Adjective clause เราต้องทำความรู้จักกับ main clause และ subordinate clause ก่อน ซึ่ง Main clause หรือประโยคหลักคือ ประโยคที่มีความสมบูรณ์ในตัวเองด้วยการดำรงอยู่โดดๆได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงประโยคอื่น เช่น She is the woman. เป็น main clause เพราะสามารถดำรงอยู่โดดๆได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงประโยคอื่น บางครั้งเราจึงเรียก main clause ว่า independent clause ส่วน subordinate clause หรืออนุประโยคคือ ประโยคที่ใช้ขยายความประโยค
หลัก Subordinate clause จึงเป็นประโยคที่ดำรงอยู่โดดๆไม่ได้ ต้องเกาะเกี่ยวอยู่กับประโยคหลัก
 เช่น that won the contest last week เป็น subordinate clause เพราะเป็นประโยคที่ใช้ขยายความคำนามของประโยคหลัก จึงดำรงอยู่โดดๆไม่ได้ ต้องเกาะเกี่ยวอยู่กับประโยคหลัก บางครั้งเราจึงเรียก subordinate clause ว่า dependent clause
                เมื่อเรารู้จักกว่า main clause และ subordinate clause คืออะไร ก็มาทำความรู้จักกับ Adjective clause ซึ่งมันก็คือ subordinate clause หรืออนุประโยคที่ดำรงอยู่โดดๆไม่ได้ หากต้องเกาะเกี่ยวอยู่กับประโยคหลัก โดย adjective clause จะทำหน้าที่ในการขยายความคำนามหรือคำสรรพนามของประโยคหลัก (main clause) เช่น ประโยค a) A man who moved in yesterday is our friend. ในประโยค a) who moved in yesterday ก็คือ adjective clause ที่ทำหน้าที่ ขยายความคำนาม A man ในประโยคหลัก A man is our friend.  ประโยค b) Anyone that does this is a fool. ในประโยค b) that does this ก็คือ adjective clause ที่ทำหน้าที่ขยายความคำสรรพนาม Anyone ในประโยคหลัก Anyone is a fool. ประโยค c) She is the woman that won the contest last week. ในประโยค c) that won the contest last week ก็คือ adjective clause ที่ทำหน้าที่ขยายความคำนาม the woman ในประโยคหลัก She is the woman. สรุปคือ adjective clause ทำหน้าที่เหมือนกับคำคุณศัพท์นั่นเอง เพียงแต่ว่าอยู่ในรูปของอนุประโยค (subordinate clause) จึงได้นำมาวางไว้หลังคำนามแทนที่จะวางไว้หน้าคำนามเหมือนกับคำคุณศัพท์ทั่วๆไป
                องค์ประกอบของ adjective clause แม้จะเป็นอนุประโยค แต่ก็ถือว่าเป็นประโยคชนิดหนึ่ง ดังนั้น
adjective clause อย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย ภาคประธาน (subject) และภาคแสดง (predicate) เสมอ เช่น ‘who moved in’ มี who เป็นประธาน และมี moved in เป็นภาคแสดง
‘that does this’ มี that เป็นประธาน และมี does this เป็นภาคแสดง
‘that won the contest’ มี that เป็นประธาน และมี won the contest เป็นภาคแสดง
ซึ่ง adjective clause จะมีคำและประเภทของคำที่ใช้นำหน้า adjective clause อยู่ ซึ่งคำที่ใช้นำหน้า adjective clause เพื่อแสดงความเป็น adjective clause จะได้แก่ คำ relative ดังต่อไปนี้ who, which, that, whose, whom, where, when และ why ด้วยเหตุนี้ adjective clause จึงมักได้รับการเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า relative clause (อนุประโยคที่นำหน้าด้วยคำ relative) คำ relative เหล่านี้จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ Relative pronoun ได้แก่ who, which, that, whose , whom  และ Relative adverb ได้แก่ where, when และ why และจะมีข้อสังเกตว่า what และ how จะไม่ใช้นำหน้า adjective clause แต่จะใช้นำหน้า noun clause
                 Relative pronoun ทำหน้าที่ เป็นทั้งคำที่ใช้ขยายความคำนามและเป็นประธานของ adjective clause ไปในเวลาเดียวกัน หรือบางกรณีก็ทำหน้าที่เป็นกรรมของ adjective clause ไปในเวลาเดียวกัน มีหลักการใช้ดังนี้ 1) การใช้ who/which/that เพื่อขยายความคำนามของประโยคหลัก เราใช้ who ขยายความคำนามที่เป็นบุคคลหรือสัตว์เท่านั้น , เราใช้ which ขยายความคำนามที่เป็นสิ่งของเท่านั้น และเราใช้ that ขยายความคำนามที่เป็นบุคคลหรือสิ่งของก็ได้ การใช้ who/which/that เป็นประธานของ adjective clause เพื่อขยายความคำนามของประโยคหลัก เราใช้ who/which/that เป็นประธานของ adjective clause เพื่อขยายความ
คำนามของประโยคหลัก เช่น A man who moved in yesterday is our friend.
      The girl who is crying was punished by her mother.
      The woman who was hit by a car is getting better.
การใช้ who/which/that นี้เราสามารถวางไว้ห่างจากคำนามของประโยคหลักก็ได้ ถ้าคำนามนั้นมีคำอื่นมาขยายความอยู่ เช่น  A man with a hat who is standing there is my boss.
                 Paul McCartney discusses a working relationship with George  Harrison that was not always an even partnership. (The New York Times/Bangkok Post)
การใช้ who/which/that เป็นกรรมของ adjective clause  เพื่อขยายความคำนามของประโยคหลัก Who/which/that นอกจากจะเป็นประธานของ adjective clause แล้ว ยังเป็นกรรมของ adjective clause ได้อีกด้วย เช่น The woman who I met is my friend’s sister. ประโยคนี้ who ทำหน้าที่เป็นคำขยายความประธาน The woman ขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นกรรมของคำกริยา met พร้อมกันไปด้วย และคำกริยาที่ใช้ใน adjective clause ในกรณีนี้จะต้องเป็น คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับจึงจะเป็นการใช้ who/which/that เป็นกรรมของ adjective clause ที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ดังประโยคตัวอย่างต่อไปนี้ a) The man who I talked with works for my dad. b) The used car that my sister has bought is very cheap. ประโยค a) คำกริยา talked with เป็นคำกริยามี่ต้องมีกรรมมารองรับ ส่วนประโยค b) คำกริยา bought ก็เป็นคำกริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับเช่นกัน ทั้งประโยค a) และ b) นี้จึงถือว่าถูกต้องตามหลักไวยากรณ์การใช้ who/which/that เป็นกรรมของ adjective clause
การใช้ ‘whose + คำนามเพื่อขยายความคำนามของประโยคหลัก Whose เป็นคำสรรพนามที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของบุคคลหรือสิ่งของได้ เช่น whose bike = จักรยานของใคร; whose daughter = ลูกสาวของใคร whose handle = หูจับของมัน ฯลฯ  เราสามารถใช้ ‘whose + คำนามดังตัวอย่างข้างต้นนี้นำหน้า adjective clause เพื่อขยายความคำนามของประโยคหลักได้ เช่น A boy whose bike was bought by my son is my student. (เด็กชายซึ่งจักรยานของเขาถูกซื้อโดยลูกชายของผมเป็นลูกศิษย์ของผม)
A woman whose house is next to me is a nurse. (ผู้หญิงที่บ้านของหล่อนอยู่ติดกับฉันเป็นพยาบาล)
He said something to a man whose dog names Spice. (เขาพูดบางสิ่งกับผู้ชายที่สุนัขของเขาชื่อ Spice)
It is a cat whose ears are so short. (มันคือแมวที่หูของมันสั้นมาก) She hires a carpenter whose son is a plumber.  (เจ้าหล่อนว่าจ้างช่างไม้ซึ่งลูกชายของเขาเป็นช่างประปา)
                การใช้ whom เป็นกรรมของ adjective clause ตามปกติเราใช้ who เป็นกรรมของ adjective clause ได้ดังนี้ The woman who I met is my friend’s sister.
The man who I work for runs many businesses.
The man who many women had a date with turns out to be a serial killer.
อย่างไรก็ตาม เราอาจใช้ whom แทน who ได้ในการใช้แบบเป็นทางการ เช่น ในหนังสือเอกสารต่างๆ เช่น          The woman whom I met is my friend’s sister.
The man for whom I work runs many businesses.
The man with whom many women had a date turns out to be a serial killer.
                หลักการใช้ relative adverb ขยายความคำนามของประโยคหลัก การใช้ where/when/why ขยายความคำนาม Where/when/why เป็นคำ relative adverb จึงทำหน้าที่เป็นทั้งคำขยายความ (relative) คำนามของประโยคหลัก และเป็นวิเศษณ์ (adverb) ของ adjective clause พร้อมกันไปในเวลาเดียวกัน เช่น
This is the website where you can learn English for free. ประโยค adjective clause ‘where you can learn English for free’ นี้ where จะทำหน้าที่เป็นทั้ง คำขยายความคำนาม the website’ และทำหน้าที่เป็น วิเศษณ์แสดงสถานที่ของ learn English for free ด้วย การใช้ where เพื่อขยายความคำนามแสดงสถานที่ เราใช้ where นำหน้า adjective clause เพื่อขยายความคำนามแสดงสถานที่, คำนามแสดงตำแหน่ง หรือคำนามแสดงลำดับขั้นในประโยคหลัก เช่น  The school where they study is the best in town.
Put that book into the place where it is. This is the website where you can learn English for free.
The cosmology has just reached the stage where we can understand the universe only 10 percent.
                ลักษณะพิเศษของ where คือคำวิเศษณ์แสดงสถานที่ และคำวิเศษณ์แสดงสถานที่จะมีลักษณะพิเศษอยู่ประการหนึ่งคือ เป็น กึ่งคำวิเศษณ์กึ่งคำนาม’ Where จึงมีทั้ง ความเป็นวิเศษณ์และความเป็นคำนามอยู่ในตัวเอง เราจึงใช้ where เป็นคำวิเศษณ์ (adverb) ก็ได้ หรือเราจะใช้ where เป็นคำนาม (noun) ก็ได้นั่นคือ เราสามารถใช้ where เป็นคำวิเศษณ์ตามหลัง คำกริยา vi’ (คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ) ก็ได้ หรือเราจะใช้ where เป็นคำนามตามหลัง คำกริยา + บุพบท (phrasal verb)’ ก็ได้ เช่น  a) Where did he go?
b) Where did he go to? ทั้ง 2 ประโยคนี้ถูกต้อง โดยประโยค a) go เป็นคำกริยา vi เราจึงใช้ go กับคำ
วิเศษณ์ where ได้ทันที นั่นคือ Where did he go? ส่วนประโยค b) go to เป็น คำกริยา + บุพบทเราจึงใช้ go to กับคำนาม where ได้ทันทีว่า Where did he go to?  และเมื่อเราใช้ where เป็น relative adverb ลักษณะพิเศษนี้ก็ยังคงติดตัว where มาด้วย เราจึงสามารถใช้ where กับ คำกริยา vi’ ก็ได้ หรือใช้กับ คำกริยา + บุพบทก็ได้
                การใช้ when เพื่อขยายความคำนามแสดงเวลา เราใช้ when นำหน้า adjective clause เพื่อขยายความคำนามแสดงเวลาของประโยคหลักได้ เช่น The first time when I dated her, I fell in love with her.
Do you remember the day when we first met? The night when they drove old Dixie down. ลักษณะพิเศษของคำนามแสดงเวลา สำหรับภาษาอังกฤษแล้ว คำนามแสดงเวลา เช่น time, day และ night ฯลฯ นั้น เมื่อ
เราเติม the เข้าไปข้างหน้าเป็น the time, the day และ the night ฯลฯ คำเหล่านี้จะกลายเป็น กึ่งคำนามกึ่งคำวิเศษณ์ไปทันที นั่นคือ เราสามารถใช้ the time, the day และ the night ฯลฯ เป็นคำนามก็ได้ หรือเป็นคำวิเศษณ์ก็ได้ เมื่อเป็นดังนี้คำเหล่านี้จึงมักถูกใช้เป็นคำวิเศษณ์ขยายความคำกริยาหรือประโยคทั้งประโยคได้ เช่น  We met her the day before Christmas. ประโยคนี้ the day before Christmas ทำหน้าที่เป็นวิเศษณ์ขยายความประโยค We met her. ดังนั้น เมื่อเราใช้ when ซึ่งเป็น relative adverb มาขยายความคำนามแสดงเวลา
the time, the day และ the night ฯลฯ เราจึงสามารถละ when ไว้ได้ เพราะคำนามแสดงเวลาเหล่านี้เป็นคำวิเศษณ์ในตัวเองอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมี when อยู่ด้วยก็ได้
                การใช้ why ขยายความคำนาม reason เราใช้ why นำหน้า adjective clause เพื่อขยายความคำนาม reason ได้ เช่น This is the reason why I am here. (นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมผมถึงมาที่นี่) และเราจะละ why ไว้เสียก็ได้ ดังนี้ This is the reason I am here. (นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมผมถึงมาที่นี่) เหตุที่เราสามารถตัด why ออกได้ก็เพราะ คำว่า reason มีความหมายว่า ทำไมอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว นั่นคือ reason = ทำไมบางสิ่งจึงเกิดขึ้นหรือทำไมบางคนจึงทำบางสิ่ง เราสามารถใช้ why เพื่อขยายความคำนาม idea ในประโยค I have no idea. ได้เช่นกัน แต่จะไม่สามารถตัด why ออกได้ ดังนี้ I have no idea why she dated him.
                การลดรูป adjective clause นั้น คำนำหน้า “who”, “which” และ “that” ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ adjective clause สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำต่าง ๆ ได้ โดยเมื่อลดรูปแล้วจะกลายเป็นกลุ่มคำนามดังนี้
Appositive Noun Phrase  , Prepositional Phrase , Infinitive Phrase  และ Participial Phrase
การลดรูป Adjective clause ให้เป็น Appositive Noun Phrase  มี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which และ that มี BE และให้ตัด BE ออกด้วย เมื่อลดรูปแล้ว จะเป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า appositive ดังนี้ ประโยค a)  Prof. Chakarin, who is my thesis adviser, will retire next year. ลดเป็น
 Prof. Chakarin, my thesis adviser, will retire next year. ประโยค b) His novel, which is entitled Behind the Picture, is very popular. ลดเป็น His novel, Behind the Picture, is very popular.
                การลดรูป adjective clause ให้เป็น Prepositional Phrase  ซึ่งมี who, which และ that เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who , which และ that มีคำกริยาและบุพบท ที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบท ยังมีความหมายเหมือนเดิมให้ตัดคำกริยาออกได้ เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า prepositional phrase ดังนี้ ประโยค a) The lady who is dressed in the national costume is a beauty queen. ลดเป็น The lady in the national costume is a beauty queen. ในที่นี้ dressed in the national costume มีความหมายเหมือน in the national costume ประโยค b) The football player who came from Brazil received a warm welcome from his fans in Thailand. ลดเป็น The football player from Brazil received a warm welcome from his fans in Thailand. ในที่นี้ came from Brazil มีความหมายเหมือน from Brazil
การลดรูป adjective clause ให้เป็น Infinitive Phrase  ซึ่งมี who, which และ that สามารถลดรูปได้ หากข้างหลังมีกริยาในรูป BE + infinitive with to เมื่อลดรูปแล้ว เป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า infinitive phrase ดังนี้ ประโยค a) He is the first person who is to be blamed for the violence yesterday. ลดเป็น He is the first person to be blamed for the violence yesterday. ประโยค b) The researcher did not provide the specific statistics that can be used to test the hypothesis. ลดเป็น The researcher did not provide the specific statistics used to test the hypothesis. ลดอีกหนึ่งครั้งเป็น The researcher did not provide the specific statistics to test the hypothesis.
การลดรูป adjective clause ให้เป็น Participial Phrase มี 2 แบบ คือ แบบที่1 Present Participial Phrase ซึ่งมี who เป็นประธาน  สามารถลดรูปได้ หากหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูปโดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น present participle (V-ing)  เช่น ประโยค a) The school students who visited the national museum were very excited. ลดเป็น The school students visiting the national museum were very excited. ประโยค b) The two robbers who had escaped to Cambodia were arrested a week ago. ลดเป็น The two robbers having escaped to Cambodia were arrested a week ago. ประโยค c) The earthquake victims who had been saved by the rescue team were sent to hospital immediately. ลดเป็น The earthquake victims having been saved by the rescue team were sent to hospital immediately.  แบบที่ 2 Past Participial Phrase ซึ่งมี which และ who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง which และ who มีกริยาในรูป passive form (BE + past participle) ลดรูปโดยตัด which/who และ BE ออก เหลือแต่ past participle ดังประโยค a) The money which was lost during the trip was returned to its owner. ลดเป็น The money lost during the trip was returned to its owner. ประโยค b) His father, who was sent by his company to New Zealand, developed lung cancer. ลดเป็น His father, sent by his company to New Zealand, developed lung cancer.
จากการศึกษาเรื่อง Sentence และ Adjective clause ทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องประโยคและอนุประโยค ซึ่งประโยค ก็คือข้อความที่พูดออกมาแล้วได้ความหมายสมบูรณ์ ส่วนอนุประโยค คือประโยคที่ไม่มีเนื้อความสมบูรณ์ในตัวเอง  ทั้งนี้ยังสามารถแยกแยะภาคประธาน ภาคแสดงได้ เพราะ การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษนั้น ผู้ส่งสารได้แก่ผู้พูดหรือผู้เขียนอาจต้องการสื่อสารข้อความที่มีรายละเอียดการอธิบาย หรือขยายคำนามในประโยคโดยไม่อาจใช้เพียงคำหรือกลุ่มคำคุณศัพท์ได้ ในกรณีดังกล่าวส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ขยายคำนามในประโยคอาจอยู่ในรูปของประโยคอีกประโยคหนึ่งคือมีภาคประธานและภาคแสดง จึงมีลักษณะเหมือนประโยคย่อยๆ ที่ซ้อนอยู่ในประโยคหลัก โดยใช้คำนำหน้าประโยคย่อยนี้เพื่อเชื่อมต่อกับประโยคหลัก การเรียนรู้ในสิ่งเหล่านี้ทำให้สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น